ธรรมะออนไลน์: คำว่า ทาน

ธรรมะออนไลน์: คำว่า ทาน: จากหนังสือธรรมปฏิบัติ เล่ม 12 โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุง) อามิสทาน คำว่า "ทาน" แปลว่า "การให้" การให้นี้มีอยู่ 2 อย่...

งานวิจัยพบว่าคนที่มีความสุขมากที่สุดในโลก

ธรรมะออนไลน์: มีความสุข...อย่างไร??: หนังสือ time magazine บอกว่า ที่อเมริกา มีงานวิจัยพบว่าคนที่มีความสุขมากที่สุดในโลก คือพระในพุทธศาสนา โดย ทดสอบด้วยการ สแกนสมองพระที่ทำสมา...

เปิดธุรกิจของตัวเองจะเจ๊งหรือไม่?

กังวลว่าถ้าเปิดธุรกิจของตัวเองจะเจ๊งหรือไม่?


ขาดทุน หมายถึง การที่เราไม่สามารถทำกำไรจากธุรกิจได้ แต่ก็ยังดำเนินธุรกิจอยู่..

เจ๊ง หมายถึง การขาดทุนจนไม่สามารถทนต่อการดำเนินธุรกิจต่อไปจนปิดกิจการ ซึ่งหนักหนากว่าการขาดทุนปกติ

การทำธุรกิจมุ่งหวังผล กำไร ซึ่งตรงข้ามกับการ ขาดทุนดังนั้น เมื่อมีการหวังผลกำไร สิ่งที่กลัวก็ย่อมเป็นการขาดทุนและสิ่งที่หนักที่สุดของการขาดทุนก็คือ เจ๊ง นั่นเอง

การมีความหวัง ก็ย่อมผิดหวัง
หวังมากเท่าไหร่เมื่อผิดหวังก็จะยิ่งเจ็บปวดมากขึ้นเท่านั้น



ก่อนการลงมือทำธุรกิจของตนเอง ความกลัวไม่ใช่แค่การเจ็ง แต่มันยังประกอบด้วย



ความกังวลจากสภาวะทางการเงิน



เพราะว่า การรับเงินเดือน มันง่าย มันสะดวกกว่า สิ้นเดือนก็ได้รับเงินเดือน ไม่ต้องกังวลกับการขาดทุน หรือ ไม่ต้องกังวลว่าจะหาเงินมาให้ลูกน้องสิ้นเดือนนี้ได้หรือไม่ ดังนั้น เมื่ออยู่ในสภาวะของความปลอดภัยนานๆ และเมื่อเกิดสภาวะความเสี่ยงเกิดขึ้น จึงไม่อยากที่จะเข้าไปอยู่ในสภาวะนั้นๆอีก ความกลัวเรื่องการเงิน จึงเกิดขึ้นว่า จะหาเงินมาให้ครอบคลุมกับเงินที่มีอยู่ได้อย่างไร จากธุรกิจที่จะออกไปทำ ทั้งนี้ จะคิดไปมากมายว่า เงินที่ได้หากไม่พอจะทำอย่างไร จะอยู่ได้นานแค่ไหน ครอบครัวจะเป็นอย่างไร ฯลฯ ทั้งนี้ บางคนก็ไม่ต้องคิดมากเพราะฐานะทางบ้านดีอยู่แล้ว แต่ยิ่งครอบครัวที่ต้องพึ่งรายได้หลักจากเงินเดือนของผู้ออกมาประกอบธุรกิจ ย่อมจะรู้ดีกว่า มันสำคัญมากน้อยเพียงใด



จะหา 4P เงิน และ ตลาดได้อย่างไร?



มีแค่ใจในการประกอบธุรกิจก็ไม่ได้ บางคนอยากจะออกมาทำธุรกิจของตนเอง แต่ก็ยังกังวลกับ เงินทุนว่าจะหามาได้อย่างไร จะขายสินค้าใด ราคาจะตั้งอย่างไร จะขายที่ไหน ขายอย่างไร ทำการตลาดอย่งๆร จะผลิตได้อย่างไร ผลิตเองได้ไม๊ และ จะขายแล้วจะได้กำไรมากน้อยเพียงใด สารพัด ทั้งนี้ สิ่งเหล่านี้แม้นมันเป็นเรื่องที่ปกติ ของการทำธุรกิจ แต่กลับเป็นภาพที่มืดๆ มัวๆ ของคนทำงานประจำ

ทั้งนี้เพราะ สภาวะของคนทำงานย่อมถูกการจำกัดแนวความคิดอยู่ในกรอบของการทำงานนั้นๆ ทุกองค์กรต้องการที่จะให้พนักงานของตนทำงานให้กับองค์กรอย่างเต็มที่ คุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป ดังนั้น การรีดความสามารถ ของพนักงานจึงเป็นเรื่องปกติ องค์กรที่ปล่อยปะละเลยต่อการดึงศักยภาพของพนักงานก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาการเกี่ยงงาน การโอดโอยของพนักงาน การเล่นเนทฯ และ กิจกรรมอื่นๆ นอกจากงานประจำที่ควรจะทำ เช่น หาธุรกิจเป็นของตนเอง เป็นต้น

แต่องค์กรปกติ มักจะให้พนักงานทำงานอย่างเต็มที่และทุ่มเท ก็ทำให้เวลาความเป็นส่วนตัวน้อยลง ดังนั้น สินค้า บริการ ถ้าไม่ใช่เชื่อมโยงจากธุรกิจของบริษัทฯ เดิม ส่วนใหญ่ก็จะมาจากสิ่งที่เคยทำ หรือสิ่งที่ชอบ หรือ งานอดิเรกเป็นส่วนใหญ่ เพราะมันเป็นเรื่องใกล้ตัว

แต่ทั้งนี้บางคนก็พยายามหาสินค้าหรือบริการที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่รับจ้างไว้ มันเลยทำให้คิดไม่ออก การเงิน และ การตลาด ก็เป็นสิ่งสำคัญที่บางคนไม่มีความรู้ความสามารถ จึงทำให้มองไม่ออกว่า สินค้าและบริการของตนนั้น ควรจะอยู่ในตลาดแบบใด และ ควรทำอย่างไรถึงประสบความสำเร็จ



ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดการขาดทุน หรือ เจ็ง เกิดขึ้น คนที่ลงมือทำธุรกิจ
จึงต้องหาวิธีการต่างๆ เพื่อไม่ให้ตนเองตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น เช่น...



สร้างความเชื่อมั่น และ กำลังใจ



หลายคนมองว่า ตนเองจะออกมาทำก็ออกมาทำธุรกิจเลย นั่นเป็นเพราะ เขามีความเชื่อมั่นในตนเอง เชื่อมั่นในธุรกิจที่จะออกมา และ มีกำลังใจที่กล้าแข็งพอ ที่จะออกมาทำธุรกิจนั้นๆ เป็นสิ่งที่คนทำงาน รับจ้างเขา ควรจะมีเมื่อต้องการออกมาทำธุรกิจเอง เพราะความเชื่อมั่น และ กำลังใจเหล่านี้ จะเป็นเครื่องมือในการผลักดันให้คุณมุ่งมั่นที่จะทำให้ประสบความสำเร็จตามฝันที่ได้วาดไว้อย่างง่ายขึ้น




การศึกษาข้อมูลการลงมือทำธรุกิจ



นอกจากความเชื่อมั่น และ กำลังใจของตนเองแล้ว การศึกษาข้อมูลต่างๆรอบด้าน รวมถึงความเป็นไปได้ ของธุรกิจ ก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน บางคนอาจจะบอกว่ามันไม่สำคัญเลย จะทำก็ลงมือทำ แต่ทั้งนี้ คนส่วนใหญ่ไม่ได้สังเกตุว่า ตนเองได้ศึกษามาในระดับหนึ่งแล้วก่อนที่จะออกมาทำกิจการของตนเอง

ลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการอะไร?
ลูกค้าบางกลุ่มต้องการอย่างนั้น... ?
ทำไมไม่ทำสินค้าเหล่านี้ หรือ บริการเหล่านี้ ออกสู่ตลาด?
ราคาสินค้าตัวนี้สามารถทำราคาได้ต่ำกว่านี้นะ?
สินค้าตัวนี้น่าจะขายได้นะ?
เป็นต้น

คำถามเหล่านี้เกิดจาก ประสบการณ์การศึกษาข้อมูลทั้งสิ้นทำให้เกิดการสร้างธุรกิจเพื่อนำมาตอบสนอง กับความต้องการของลูกค้าในกลุ่มนั้นๆ แต่การศึกษาของคนทั่วไปไม่ได้มีความลึกซึ้งจนออกมาเป็นหลักการ แต่อย่างน้อย ความรู้สึก การสังเกตุที่ได้ หรือ คำถามที่เกิดขึ้นในใจ ก็เป็นผลจากการศึกษาธุรกิจนั้นๆ ก่อน

ถ้าให้ดีก็ควรศึกษาอย่างจริงจัง แต่ถ้าเขายังไม่มั่นใจ นั่นหมายถึง ยังมีสิ่งที่ค้างคาใจอยู่ ซึ่งก็ต้องถูกกำจัดให้หมดไปก่อนที่จะออกจากงานเพื่อมาเปิดธุรกิจเหล่านั้น ไม่เช่นนั้น อาจจะทำไปด้วยความลังเลสงสัย จนอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความกลัวก็ได้



การวางแผนการดำเนินงาน




บ่อยครั้งเราจะพบว่า พนักงานที่จะลาออกจากการทำงานมาเปิดกิจการส่วนตัวของตัวเองนั้นส่วนใหญ่้เป็นผู้บริหารระดับสูง ซึ่งมีแนวความคิดทางด้านบริหารจัดการอยู่แล้ว อีกทั้ง เวลาของผู้บริหารจะมีเวลาส่วนตัวมากกว่าคนทำงานปกติหรือพนักงานทั่วไป ดังนั้น จะเห็นว่าคนที่ออกมาทำธุรกิจส่วนตัว ส่วนใหญ่จะวางแผนการดำเนินงานของตนเองไว้ก่อนที่จะออกจากบริษัทฯ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และ สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง อีกด้วย

พนักงานทั่วไปก็จะวางแผนในระดับของพนักงาน หัวหน้างานก็วางแผนในระดับหัวหน้างานแผนที่วางอาจจะไม่ลักษณะไม่เหมือนกัน แต่เป้าหมายเดียวกันคือทำให้ธุรกิจของตนเอง ประสบความสำเร็จหรืออยู่รอดมีผลกำไรได้



การวางแผนปิดกิจการ และ กำหนดจุดขาดทุนที่ยอมรับได้



บางคนก็วางแผนว่าจะสามารถยอมรับการขาดทุนได้มากน้อยเพียงใด เพื่อเป็นการป้องกันเงินในกระเป๋าไม่ให้สูญเสียไปกว่าที่กำหนด เพราะ เมื่อเข้าไปดำเนินกิจการแล้ว บางทีเลือดขึ้นหน้า จะสู้ไม่ยอมถอย ขาดทุนก็หาเงินมาลงทุนเพิ่ม เพราะเชื่อมั่นว่า ธุรกิจไปรอด สุดท้าย... ถ้ารอดก็โชคดีไป แต่ถ้าไม่รอดก็จะเป็นหนี้มหาศาล จนตนเองไม่สามารถชำระหนี้ได้ ก็มีให้เห็นอยู่เป็นประจำ

การกำหนดจุดขาดทุนที่ยอมรับได้จะช่วยให้มีสติในการพิจารณาได้มากยิ่งขึ้น อาจจะยอมขาดทุนเพิ่มบ้าง ถ้ามีแนวโน้มของการได้กำไรคืนมาแน่นอน และ ก็อาจจะเป็นเครื่องมือ ยับยั้งไม่ให้ลงทุนเพิ่มได้ เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียเงินที่อุตส่าห์เก็บสะสมมา



เงินทุน


บางคนเพื่อความมั่นใจในการลงทุน ก็จะพยายามสะสมเงินทุนไว้ก่อน ทั้งนี้ บางคนอาจจะไม่ได้ตั้งใจเก็บมา เพื่อที่จะเอามาลงทุน แต่อาจจะเก็บไว้เพื่อซื้อบ้าน สร้างอนาคตของตนเอง แต่เมื่อต้องออกมาก็จะใช้เงินก้อนนี้
มาลงทุน ก็มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ

เพื่อให้ธุรกิจสามารถเปิดได้ การสะสมเงินทุนจึงเป็นเรื่องสำคัญ หากไม่สามารถสะสมเงินทุนก็ต้องมีลู่ทางในการหาแหล่งเงินทุนเพื่อมาสนับสนุนก่อนการออกมาทำธุรกิจของตนเองให้ได้ หรือ บางคนก็สามารถวางแผนหาเงินลงทุนจากลูกค้า โดยไม่ได้ใช้เงินทุนของตนเองก็มี ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด ยังไงก็ต้องมีทุน...เพราะ

ทุน คือจุดเริ่มต้นของธุรกิจ




สร้างแรงกดดันให้ตนเอง



บางคนออกจากงานประจำแล้วมาเปิดกิจการของตนเอง โดยไม่ได้ยั้งคิด สิ่งเหล่านี้กลับกลายมาเป็นแรงกดดัน
ให้กับเขาเพื่อให้เขาต้องคิด ต้องทำ ต้องหารายได้ เพื่อเปิดกิจการและดำเนินกิจการต่อไปให้ได้ ก็มี

เพราะบางคน ถ้าไม่ถูกกดดัน ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไร การทำเช่นนี้นับว่าเป็นการเสี่ยงค่อนข้างมาก

แต่ทั้งนี้ ธุรกิจ ก็ต้องมีความกดดันกันเป็นเรื่องปกติ แม้นเราไม่ประสงค์ในการถูกกดดัน แต่สภาวะการณ์ก็จะทำให้
เกิดความกดดันเกิดขึ้น จนทำให้เกิดแรงผลักให้ดำเนินธุรกิจต่อไป จนประสบความสำเร็จ

ถ้าไปอ่านประวัติของผู้ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่ผ่านการกดดันอย่างหนักมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะยากจนสุดขีด
ตกอับสุดขีด ไม่เหลืออะไรเลย ฯลฯ

แรงกดดันทำใหุ้่ถ่าน กลายเป็น เพชร



แต่สภาพของการเจ็งก็ยังเกิดขึ้นอยู่ดี และ สาเหตุของการเจ็ง ก็คือ



ไม่รู้จุดแข็ง จุดอ่อนของตนเอง



บางคนทำธุรกิจ ด้วยคิดว่า มันได้กำไรมากๆจากธุรกิจนั้นๆ หรือ มองว่าคนอื่นเขาทำแล้วประสบความสำเร็จ ถ้าเราทำก็จะประสบความสำเร็จมากกว่า ทั้งนี้ เกิดจากความเชื่อมั่นในตนเองที่จะสามารถทำได้...

แต่ความเชื่อมั่น กับ ความสามารถ มันแตกต่างกัน

ความสามารถของคนเรามีความแตกต่างกัน ซึ่งเกิดจากพฤติกรรม หรือ นิสัยส่วนบุคคลเป็นหลัก เช่น

บางคนชอบเป็นผู้ปฏิบัติทำสิ่งของต่างๆ มากกว่า การขาย หรือ การติดต่อซื้อขาย
บางคนชอบพูด ชอบคุย ชอบขาย แต่ทำสิ่งของต่างๆไม่เป็น
บางคนชอบทำอะไรตอนบ่ายๆ ถึงกลางคืน
บางคนชอบตื่นเช้า กลับบ้านเช้าๆ
บางคนก็ชอบคิด แต่ไม่ชอบลงมือทำดัวยตนเอง
บางคนก็ชอบทำอะไรซ้ำๆ สิ่งที่ทำได้แล้วก็ไม่ชอบให้มีการเปลี่ยนแปลง
ฯลฯ

ความชอบเหล่านี้จะเป็นตัวชี้ให้เห็นว่า การประกอบธุรกิจของตนเอง ต้องมีแนวทางการดำเนินงานที่เป็นไปตามความชอบหรือพฤติกรรมของตนเอง จึงจะประสบความสำเร็จอย่างมาก เช่น

จะเห็นว่า คนที่ชอบทำงานตอนบ่ายๆ จนดึกดื่น ส่วนใหญ่มาทำงานสาย ถ้าบังคับให้มาทำงานเช้าก็อาจจะมาได้ แต่ง่วงนอนเวลาทำงาน หรือ ทำงานได้ไม่เต็มที่ แต่ถ้าปล่อยให้เขามีเวลาที่ทำงานได้ตามที่เขาชอบ เข้าบ่ายออก 3ทุ่ม เป็นต้น เขากลับทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น

การทำธุรกิจก็เช่นกัน ถ้างานนั้นเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกับพฤติกรรมของเขา เขาก็จะทำงานได้ดี

แต่บางคนกลับ ไม่รู้จักจุดแข็ง หรือ จุดอ่อนของตนเอง มองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป
จึงทำให้เกิดพฤติกรรมต่อต้านจากลักษณะนิสัยของตนขึ้น

เช่น เป็นบุคคลที่ชอบคิดทำนั่นทำนี่ตลอดเวลา แต่ไปเปิดร้านขายทองรูปพรรณ ในตอนแรกก็สนุกกับการ จัดร้านแต่งร้าน หาทองคำเข้ามา กำหนดราคาขาย ราคาซื้อ เล่นทองคำแท่ง ฯลฯ แต่เมื่องานเข้ารูปเข้าร่าง ก็ต้อง นั่งเฝ้าร้านขายทองรูปพรรณ ซึ่งไม่ได้ ใช้ความคิดสักเท่าไหร่ นั่งเฉยๆ รอลูกค้าเข้าร้าน การทำเช่นนี้บางคนก็ทำให้รู้สึกเบื่อกับงานที่ทำ จนทำให้ขาดกำลังใจทำให้อยากที่จะยกเลิกกิจการ ขาดการปรับปรุงพัฒนา จนในที่สุดก็อาจจะส่งผลต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า เนื่องจากความเครียดในการทำงาน ก็เป็นได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะส่งผลถึงกำไรที่ได้รับจะน้อยลง จนเอาจจะทำให้ขาดทุน จนถึง การปิดกิจการในที่สุด



บริหารเงินไม่เป็น



บางธุรกิจ ก็สามารถดำเนินไปได้อย่างดี มีอนาคตสดใส แต่บางคนกลับต้องปิดกิจการไป สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการบริหารการเงินผิดพลาด ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น

ธุรกิจ จำเป็นต้องมีเงินสดหมุนเวียน


บางคนตัดสินใจผิดพลาด โดยการสั่งซื้อสินค้าเข้ามากักตุนไว้จำนวนมาก เนื่องจาก เกรงว่าสินค้าจะขาดตลาด หรือ สินค้าจะขึ้นราคา ทั้งนี้จะพบว่า นักขายส่งมักจะเอาประเด็นนี้ มากดดัน เพื่อให้ซื้อสินค้ามากขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เจ้าของกิจการบางคนก็บ้าจี้ไปตาม ซื้อกักตุนไว้มาก จนขาดสภาพคล่องทางการเงิน ในบางคนที่เครดิตเต็ม หรือ หาแหล่งเงินทุน สำรองไม่ได้ ก็จะเกิดปัญหาต่างๆตามมาเป็นขบวนรถไฟกันเลยทีเดียว




บางคนธุรกิจก็เติบโตดี แต่เพื่อตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล ก็นำเอาเงินสดที่มีในธุรกิจ หรือ เงินที่ได้จากการกู้ยืมมา ไปตอบสนองต่อความต้องการส่วนตัว เช่น ซื้อบ้านหลังใหญ่โต ผ่อนบ้านเดือนละหลายแสน ซื้อคอมโด ซื้อรถสปอร์ต ชอบเปลี่ยนรถบ่อยๆ ซื้อรถไว้หลายๆคัน ต้องซื้อของที่สร้างความภูมิฐานให้กับตน ปากกาทองคำ เสื้อผ้าจากนักออกแบบชื่อดัง
ชุดตัดใหม่ตัวละหลายหมื่น กินอาหารในโรงแรมทุกมื้อ ฯลฯ คนกลุ่มนี้ก็มีให้เห็น เอาเงินของบริษัทฯ ไปใช้ส่วนตัว เพราะเห็นตัวเลขจำนวนเงินที่มี กับ ตัวเลขของการเงินในอนาคตว่า จะได้เท่านั้นเท่านี้ แล้วไม่ได้ไตร่ตรองใคร่ครวญก่อนว่า เงินที่มีนั้นเป็นเงินในการทำธุรกิจ เพื่อซื้อสินค้า ฯลฯ แต่กลับเอาไปใช้่ส่วนตัวจน ธุรกิจต้องปิดไปก็มี




สิ่งที่เลวร้ายที่สุดของการบริหารเงินไม่เป็น คือการเล่นการพนัน ซึ่งก็ทำให้ธุรกิจเกิดการเปลี่ยนมือมามากมาย จนบางครั้งถึงกับเอาชีวิตไปเลยก็มี


ไม่ใส่ใจ ธุรกิจ



แปลกแต่จริงตรงที่ เจ้าของธุรกิจ สำหรับคนยุคใหม่ มักมีแนวความคิดว่า "ให้เงินทำงานให้" หนังสือบางเล่ม ช่างมีอิทธิพล ต่อแนวความคิดของคนเราค่อนข้างมาก แต่ทั้งนี้ การนำแนวความคิด มาใช้ผิดประเภท ก็ส่งผลที่น่ากลัวต่อเจ้าของกิจการมานักต่อนักแล้ว

เจ้าของธุรกิจางคน จ้างคนให้มาทำงานแทน ส่วนตนเองก็เข้ามาควบคุมบางส่วน บางเวลา หรือ อาจจะไม่ได้สนใจธุรกิจเท่าที่ควร อันเนื่องจากไว้ใจลูกน้องที่มี ว่าอยู่กันมานาน ไว้ใจได้ โหวงเฮ้งดี ฯลฯ ทำให้เปิดโอกาสให้ลูกน้อง โกงเงิน โกงสินค้า นำสินค้าไปขายให้ลูกค้าโดยตรง หาสินค้าทดแทน แล้วเปิดธุรกิจเข้าไปแข่งขัน ขนสินค้าออกไปจำหน่ายเงินเข้ากระเป๋าตนเอง ฯลฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ จะเห็นว่า ธุรกิจก็จะมีความย่ำแย่เกิดขึ้น จนทำให้ปิดกิจการ



เรื่องจริงที่เกิดขึ้น...
ธุรกิจขายไอศครีมตรามงกุฎ เป็นธุรกิจขนาดใหญ่เมื่อ 50 ปีที่แล้วก่อน ไอศครีมชื่อดังจะเข้ามาเสียอีก เนื่องจากเจ้าของธุรกิจ ชอบที่จะไปสังสรรค์เต้นลีลาสในเวลากลางคืน และ นอนในตอนกลางวัน ปล่อยให้ลูกน้องคนสนิท และเครือญาติ เข้ามาดำเนินธุรกิจ ผลปรากฎว่า มีการขนถ่ายไอศครีมออกไปหลายคันรถ แต่ไม่มีบิลเปิด เจ้าของกิจการกว่าจะรู้ตัวก็เป็นหนี้มากมาย จนต้องหนีหนี้ โยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งทำให้ ไอศครีม ชื่อดังเก่าแก่เข้ามาขายในประเทศไทย และเติบโตจนขายให้กับคู่แข่งได้ด้วยราคาที่สูงลิบ...


ทำเพื่อตนเอง และ ไม่รู้ว่าใครที่ควรจะให้



เจ้าของธุรกิจ ที่มีความต้องการทำเพื่อตนเองสูงๆ มักจะมองหาผลประโยชน์เข้ากับตนเองมากๆ แต่ลืมไปว่า ธุรกิจของตนเองไม่ได้อยู่ที่ตนเองเพียงฝ่ายเดียว ยังมีธุรกิจต่างๆ องค์กรต่างๆ ที่มีส่วนต่อกิจการด้วย การเอาเปรียบพวกเขาก็เท่ากับการตัดแขนขาของตนเอง...

เช่น ผู้ผลิตอุปกรณ์ป้องกันขโมยรถยนต์ แห่งหนึ่ง ทุนในการผลิตไม่มาก แต่ขายได้กำไรสูง เนื่องจาก ใช้เทคโนโลยี และ เป็นสินค้าใหม่ในตลาด เขาขายสินค้าในราคาแพงให้กับอู่ หรือ ร้านตบแต่งรถยนต์ เพื่อให้ตนเองได้กำไรให้สูงสุด และ หลังจากมีคู่แข่งขัน ก็ทำให้สินค้าของเขา ลดปริมาณการขายลงอย่างรวดเร็ว จนขายไม่ออกในที่สุด...

ปัญหาเกิดจาก ผู้ผลิตอุปกรณ์ป้องกันขโมยรายนั้น ให้ส่วนต่างกับ คนกลาง น้อยมากๆ เพื่อให้ตนเองได้กำไรสูงสุด ทำไม คนกลางพวกอู่ หรือ ร้านตบแต่ง ถึงยอมขายให้เขา ตอนที่เขาเอาเปรียบ เพราะว่า สินค้าตอนนั้นไม่มีคู่แข่ง หรือพูดง่ายๆคือผูกขาด แต่ความต้องการมีมาก ดังนั้น จึงต้องจำทนต่อการกดขี่ของผู้ผลิต

ถ้าคุณเป็นผู้ขาย... คุณจะเชียร์สินค้าที่ได้กำไรน้อย หรือ ได้กำไรมาก?

แน่นอนว่าคู่แข่งรายใหม่เข้ามาในตลาดได้ง่ายขึ้น การให้คนกลางได้กำไรมากขึ้น เป็นตัวทำให้เกิดการเปลี่ยนทิศ ไปขายสินค้าใหม่ที่ให้รายได้กับคนกลางมากขึ้น... ยิ่งสินค้าใหม่ มีปัญหาในการติดตั้งน้อยกว่า รวดเร็วกว่า สะดวกกว่า และ เข้าใจผู้ใช้ และ คนกลางมากกว่า ก็ทำให้สินค้าใหม่ยึดคลองตลาดได้เร็วกว่า...

สิ่งที่ผมจะบอกคือ เราควรจะเข้าใจธุรกิจที่อยู่ร่วมกับเรา ว่าเขาต้องการอะไร
และ ให้ในสิ่งที่ควรให้ อย่าเห็นแก่ตนเอง จนทำให้ธุรกิจต้องขาดสภาพคล่อง
หรือ ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้

โดย อาจารย์ วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)