VI = Value Investor นักลงทุนเน้นหุ้นคุณค่า

  VI = Value Investor มักเรียกว่านักลงทุนเน้นหุ้นคุณค่า วิธีการคิด -ซื้อ- ถือ  ก็ต่างจากแนวซื้อๆขายๆว่องไว หรือ เล่นรอบ เล่นระดู   ฉะนั้น ต้องกลับไปถามตัวเองว่า ตอนซื้อๆ ด้วยเหตุผลอะไร    ไม่ใช่ว่าว่าถือนาน ราคาก็สูงไปเรื่อยเปื่อยไม่มีวันตก
VI คือต้องได้กำไรตั้งแต่ตอนซื้อครับ เห็นปลายทางตั้งแต่ตอนซื้อ แต่พร้อมปรับเปลี่ยนราคาปลายทางตาม activity ทั้งแง่ดีและแง่ร้ายที่เปลี่ยนไป อันจะมีผลกระทบต่อกำไรสุทธิทั้งปัจจุบันและอนาคตครับ และถือจนกว่าศักยภาพจะถูกรีดออกมาให้เห็นจนครบถ้วนครับ

ที่สำคัญตอนซื้อต้องมี "ส่วนลด" ครับ (เหมือนเราซื้อของก็ชอบตอน sale จริงมั้ยครับ) แต่เป็นส่วนลดจากราคาในอนาคตนะครับหาใ่ช่ราคาในปัจจุบันหรืออดีตฮะ ไม่สำคัญว่าจะถือนานเท่าไหร่ บางครั้ง 2 สัปดาห์ถึงที่หมายก็ต้องออกครับ บางครั้ง 10 ปีบริษัทก็ยังทำได้ดีชนะคู่แข่งรายแล้วรายเล่าก็จะขายทำไมล่ะครับ

การที่ +16% แล้วกลับมาเท่าทุนนั้นจึงจะขอแบ่งหยาบๆเป็น 4 แบบดังนี้ครับ
1. บรรยากาศพาไป - แท้จริงแล้วคุณอาจจะซื้อที่ราคาเต็มหรือแพงกว่าแล้ว แต่บรรยากาศดันหนุนให้ราคาหุ้นไปต่อครับ มันก็แค่กลับมาที่ราคาตามความจริงครับ
2. พื้นฐานเปลี่ยน - ณ วันที่คุณซื้ออาจมีเรื่องราวดีๆรออยู่คุณอาจจะซื้อที่ราคาเต็ม ส่วนลดนิดหน่อย หรือแพงเล็กน้อยก็เป็นได้ แต่พอเวลาผ่านมา สิ่งดีๆนั้นกลับไม่เกิดขึ้นหรือมาช้ากว่าที่คาด มันก็แค่กลับมาที่ราคาตามความจริงครับ
3. ส่วนลดไม่มากพอ - แม้ราคาที่คุณซื้ออาจจะคิดว่าปลอดภัยแล้ว แต่การขยับตัวขึ้นไปอาจมีแรงหนุนไม่มากพอ story ไม่เข้าทาง กำไรไม่มา volume ก็ไม่เข้า spotlight ไม่สาดส่อง มันก็แค่กลับมาที่ราคาตามความจริงครับ
4. ผู้คนต่างเจอตัวอื่นที่ดีกว่า - ไม่ใช่ว่าหุ้นของคุณอาจจะไม่ดี ไม่ใช่ว่าราคาที่คุณซื้อส่วนลดไม่มากพอ แต่มีตัวที่ดีกว่า สดกว่า ชัวร์กว่า จนผู้คนเลือกที่จะออกไปหามันแทนตัวนี้ครับ มันก็แค่กลับมาที่ราคาตามความจริงครับ

เหล่านี้เป็นแค่บางมุมเท่าที่พอนึกได้ฮะ แต่ความจริงเป็นอย่างไรคุณต้องลองทำการบ้านครับ ซึ่ง 4 อย่างที่ว่าอาจจะมองโลกในแง่ดีเกินไปด้วยซ้ำนะฮะ ถ้าบังเอิญราคาเท่าทุนตอนนี้อาจจะยังไม่แน่นหนาพอจะทนรับสภาวะตลาดอะไรก็ตามที่จะเฉลยออกมาในอนาคตอันใกล้ คุณต้องทำการบ้านเองครับ

อย่าลืมหากิจการคุณภาพและซื้อในราคาส่วนลดเมื่อเทียบกับอนาคตของมันครับ นั่นล่ะครับ Value Investor 😁

โชคดีในการลงทุนครับ ✌🏼

10 ข้อควรรู้เพื่อรวยจากตลาดหุ้น


1.  'ความเสี่ยงลดลงเมื่อความรู้เพิ่มขึ้น' ..ความเสี่ยงของตลาดหุ้น ไม่ได้อยู่ที่หุ้น ..มันอยู่ที่คนเล่น 

2. 'ได้เงินเท่าไหร่ ตลาดหุ้นให้เราเอง แต่เสียเงินเท่าไหร่เรากำหนดได้' ...ผลตอบแทนในตลาดหุ้น ควบคุมไม่ได้ แต่ความเสี่ยงในพอร์ตเราควบคุมได้

3. 'หุ้นส่วนใหญ่ขึ้นมากกว่าลง แต่พอร์ตรายย่อยลงมากกว่าขึ้น เพราะทำตรงข้ามกับสิ่งที่ควรทำ' ...หุ้นขึ้นลงเป็นรอบ รอบขาขึ้น ขึ้น 5-10 เท่า แต่ขาลง จะลงประมาณ 70% จากราคาที่ขึ้นไปสูงสุด ..ถ้าแบ่งเงินลงทุนเป็น ไม่มีทางจนเลย เพราะได้มากกว่าเสียตลอดเวลา (เข้าใจข้อนี้ จะนั่งขำความโง่ของตัวเอง)

4. 'ความรู้สูงสุดในตลาดหุ้นคือรู้งี้ และรู้งี้สูงสุดคือ รู้งี้ไม่เลิกลงทุน' ..เพราะตลาดหุ้นเป็นสถานที่ที่คนรวยไม่เคยเลิก (แม้จะพลาดบ้างก็เรียนจาก รู้งี้ แล้วลงทุนต่อไปจนรวย) แต่คนเลิกไม่เคยรวย ..หุ้นในระยะยาวขึ้นไม่ต่างจากที่ดิน คนที่ถือนานที่สุดรวยที่สุด -- ราชาที่ดิน & ราชาหุ้น

5. 'ใครไม่เลือกหุ้นเอง ไม่เคยทนรวยได้' ..หุ้นดีทุกตัวขึ้นเป็น 10 เท่า ร้อยเท่า แต่คนที่ไม่เลือกหุ้นเอง จะไม่สามารถทนรวยเห็นเงินตัวเองเพิ่มขนาดนั้นได้ มักขายหมูเสมอ (เลือกหุ้นถือเองไม่ได้ ก็ขายหมูทั้งชีวิต) ..เพราะการทนรวยมันอาศัย 'ปัญญา + เวลา' (มีความรู้ และเชื่อมั่นในความรู้นั้น ถึงจะร่ำรวยได้)

6. 'ตลาดหุ้นสามารถทำเงินได้สองแบบ คือ ทำงานเพื่อเงิน และ ก็วางเงินทำงาน ..แต่คนส่วนใหญ่เลือกที่จะ ทำงานเพื่อเสียเงิน' ...ง่ายกว่าไหมที่จะเริ่มจาก 'วางเงินทำงานก่อน' พอเก่งขึ้น ค่อยเร่งความรวยเพิ่มเมื่อความรู้และความเข้าใจในตลาดเพิ่มขึ้น (จะตัดต้นไม้ให้ได้ดี ใส่ใจการลับขวานให้คมก่อนจะดีกว่า)

7. 'การหาเงินเร็วไม่ได้ทำให้รวย แต่มันช่วยสร้างกระแสเงินสด ....ส่วนการวางเงินให้รวย ไม่เคยใช้เวลาสั้นๆ' ..การเข้าใจ 'เล่นสั้น เพื่อวางแผนเล่นยาว' จึงเป็นเคล็ดลับการสร้างความมั่งคั่งอย่างสมบูรณ์

8. 'ใครไม่เรียนเรื่องหุ้น สุดท้ายจะเสียเงินจากหุ้นไม่ทางใดก็ทางนึง เพราะระบบเศรษฐกิจและการเงินยุคนี้ใช้ทุนและหุ้น เป็นตัวขับเคลื่อน' ...ถ้าคุณจะใช้ถนน แม้นว่าคุณจะไม่ขับรถ คุณก็ควรรู้ว่ากฎจราจรเป็นอย่างไร เพื่อเข้าใจและเอาตัวรอดบนถนนที่ทุกคนใช้ร่วมกัน

9. 'ตลาดหุ้นให้ความรวยเพิ่มสิบเท่าโดยค่าเฉลี่ย' ..กลไกของตลาดหุ้นคือใช้เงินคนอื่นทำงาน ซึ่งรวยมากกว่ากลไกของบริษัทนอกตลาดหุ้นที่ใช้เงินตัวเองทำงาน ..ผู้ที่เข้าใจความแตกต่างที่ซับซ้อนตรงนี้ จึงได้รางวัลเป็นความมั่งคั่งอย่างน้อยสิบเท่าจากคนทั่วไป

10. 'พอร์ตหุ้นเด็ด สำคัญกว่าหาหุ้นเด็ด' ..ไม่มีใครในตลาดหุ้นที่รวยจากหุ้นตัวเดียว ..เพราะการรวยจากหุ้นเด็ด จะเสียหายจากหุ้นเด็ดในที่สุด (สัจธรรมนักพนัน) ...คนที่รวยอย่างถาวรในตลาดหุ้นคือ เลือกหุ้นธรรมดาๆ แต่สร้างพอร์ตเด็ด ที่กระจายความเสี่ยงอย่างเหมาะสมตามหลัก The Stock Blueprint !!

ภาววิทย์ กลิ่นประทุม

10สัญญานหุ้นว่าต้องมีอะไรดีๆ


1.กำไรโต

หุ้นสมัยนี้ถ้ากำไรไม่โต หรือโตน้อยลง ตลาดพร้อมใจที่จะเททันที กำไรโตจะเป็นเหมือนแรงส่งให้ราคาหุ้นสามารถไปต่อได้ หน้าที่เราคือต้องดูว่าอนาคตอย่างเร็วที่สุดไตรมาสต่อไปกำไรยังโตต่อเนื่องได้หรือไม่ และในอีก 2-3 ปีจะเป็นอย่างไร ถ้ากำไรยังมีแนวโน้มเติบโตหุ้นก็จะไปต่อได้

2.ยอดขายโต

หุ้นที่ยอดขายโต แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของธุรกิจที่ยังสดใน โมเดลธุรกิจยังไปได้ แต่การเติบโตของยอดขายต้องพิจารณาเพิ่มเติมอีกว่ามีความต่อเนื่องหรือไม่ ถ้ายอดขายโตแค่ประเดี๋ยวประด๋าวจากการอัดโปรโมชั่น หรืองานรับเหมาที่มาครั้งเดียวก็ต้องระวัง ว่าไตรมาสต่อไปราคาหุ้นอาจร่วงได้อีก

3.อัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้น

อัรรากำไรขั้นต้นเป็นเหมือนสัญญาณที่บอกว่า ธุรกิจยังมีความสามารถในการแข่งขันได้ ควบคุมการผลิตได้ดี และที่สำคัญที่สุดสำหรับนักลงทุนที่สนใจหุ้นกลุ่ม Commodity ถ้าอัตรากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่ารอบสินค้ากำลังมา

4.รายจ่ายพิเศษ

อะไรที่เป็นรายจ่ายพิเศษที่มาครั้งเดียวก็ถือเป็นโอกาสซื้อหุ้นได้เหมือนกัน แต่รายจ่ายพิเศษที่เกิดขึ้นควรเป็นรายจ่ายที่มองแล้วมาครั้งเดียวและไม่เกี่ยวกับธุรกิจหลัก หรือทำให้ธุรกิจหลักดูดีขึ้นเช่น

รายจ่ายจากการขยายกิจการ รับคนเพิ่ม เตรียมงานธุรกิจใหม่ๆ รายจ่ายจากการตัดรายจ่ายของธุรกิจเก่าที่จะเลิกทำแล้ว

5.มีการลงทุน

หุ้นที่มีการลงทุน สังเกตได้จากสินทรัพย์ที่เติบโต แสดงว่ามีเครื่องมือทำกินที่มากขึ้น กำไรในอนาคตจะสามารถเติบโตได้ แต่เดี๋ยวนี้หุ้นที่มีการลงทุนไมต้องรีบเข้าก็ได้ รอให้กำไรโตก่อนก็ยังทัน

6.เปลี่ยนผู้บริหาร

ตลาดจะเชื่อว่าผู้บริหารใหม่ๆน่าจะทำให้ธุรกิจดีขึ้นได้ แต่เข้าด้วยประเด็นนี้ก็ต้องระวัง เพราะกว่าจะปรับธุรกิจแล้วเริ่มมีกำไรไม่ใช่จะโตได้ในวันสองวันต้องให้เวลามันนิดหน่อย

7.ROA เพิ่ม

ROA คือกำไรต่อสินทรัพย์ ถ้าเพิ่มขึ้นแสดงว่า สินทรัพย์ 100 บาทเท่ากันสามารถสร้างกำไรได้มากขึ้น หรือตัดสินทรัพย์ที่ไม่ทำกำไรออกไป แสดงว่าต้องมีปัจจัยเร่งอะไรบางอย่าง ต้องไปตามต่อ

8.คู่แข่งเจ้ง

มักจะเจอกับหุ้น Commodity เช่น สินค้าเกษตร ปิโตรเคมี โลหะ เวลารอบวงจรเป็นขาลงยาวๆ พวกสายป่านไม่ยาวก็จะเจ้งไป แสดงว่า Supply กำลังหายไป อาคตราคาอาจขึ้นได้ ถ้าเรารอดได้เราจะรวย

9.นโยบายรัฐมา

เป็นสัญญาณสำหรับหุ้นรับเหมาที่รับงานภาครัฐเยอะๆ ช่วงออกนโยบายหุ้นเหล่านี้จะเริ่มขยับ ซักพักบริษัทที่ป็น supply ก็จะเริ่มขยับตาม เช่นประมูลรถไฟฟ้า ตลลาดก็จะไปเก็งหุ้นกลุ่มรับเหมาว่าใครจะประมูลได้ ไปเก็งหุ้กลุ่มที่เกี่ยวเนื่องเช่น ทำฐานราก วัสดุก่อสร้าง

10.ราคาเป็นขาขึ้น

หุ้นที่ราคาเป็นขาขึ้น เหมือนเรามีเพื่อนร่วมทางที่คิดเหมือนๆกัน ก็ช่วยๆกันดันไป เราก็ไม่ต้องรอนาน หน้าที่เราต้องดูว่าธุรกิจที่เราสนใจแข็งแรงพอที่จะเติบโตต่อได้หรือไม่ ถ้าดูแล้วโตยาก ได้กำไรก็พิจารณาขายๆไปเหอะ วันไหนกำไรเริ่มลดลงราคาหุ้นก็ลงเอง

นี่ก็เป็น 10 สัญญาณ ที่แสดงว่าเบื้องต้นว่าหุ้นมันต้องมีอะไรครับ เวลาอ่านงบการเงินถ้าเจอ ก็ต้องเกิดเอะใจนิดนึงว่ามันจะมีอะไรต่อหรือไม่ เจริญในการลงทุนทุกท่านครับ

กฏธรรมชาติของหุ้นที่จะขึ้น

1)  หุ้นจะขึ้นเมื่อมีการซื้อ Offer ในราคาที่ผิดธรรมชาติ
   แนวคิด:  ทำไม อยู่ดีๆ ถึงมีคนยอมซื้อแพง ทั้งๆที่ สามารถซื้อถูกได้
   สาเหตุ :  เวลาคนจะสร้างราคา เขาจะต้องทำให้ราคาขึ้น ถ้าไม่ยอมซื้อขวา ราคาก็ไม่มีวันขึ้น

2) ในจังหวะหุ้นที่จะขึ้นจริง คนสร้างราคา เขาจะไม่ทำให้เราได้ซื้อง่ายๆ เพราะเราจะมักไม่เคยซื้อได้ทัน สำหรับราคาที่ดี
     แนวคิด:  ทำไม มีการรวบ  offer  ไม้ใหญ่ๆ ยกช่อง หรือ การรวบแล้ว เติม Bid โดยทันที
      สาเหตุ :  เวลาคนจะสร้างราคา ถ้าเมื่อเป็นจังหวะที่จะเล่นเร็ว เขาจะต้องทำให้ ราคาขึ้นเร็วที่สุดเพื่อให้ห่างจากทุนในการทำราคา เพราะ ถ้าเป็นเรา เราคงอยากให้ ไปไกลจากทุนเรามากที่สุด ในเวลาสั้น ก่อนมีใครจะมาทิ้งหุ้นใส่

3) เวลาหุ้นก่อนจะขึ้นเป็น trend ยาวๆ กราฟเทคนิค มันจะบอกว่า ให้ขายสะ

       แนวคิด :  ทำไม มีการสร้างกราฟเทคนิคให้ขายก่อนขึ้น
       สาเหตุ :  ของดีมักไม่มีใครอยากแบ่ง อยากได้ของให้อยู่ในมือมากที่สุด แล้วค่อยไปขายให้ได้ราคาสูง ในจำนวนที่พอใจ

4) เวลาหุ้นขึ้นแรง มักเปิดราคากระโดด

       แนวคิด : หุ้นที่ขึ้นแรงๆ มักราคาเปิดกระโดด ผ่าน ราคาที่ผิดธรรมชาติ อย่างแนวต้านที่ไม่เคยผ่าน
        สาเหตุ :  กฎการสร้างราคา คนสร้างราคา ต้องทำให้ ราคาขึ้นอย่างรวดเร็ว ป้องกันการขายหุ้นใส่ ถ้ายิ่งมีคนขายใส่มากเท่าไหร่ ภาระของคนทำราคา จะเหนื่อยมากเท่านั้น ในการจะทำราคาขึ้น เพราะ ต้นทุนจะสูงขึ้นไปด้วยโดยทันทีกับการรับของคนที่ขายใส่เพื่อทำราคาไม่ให้ลง

  กฎให้ท่องจำและฝึกฝน
         
             " อย่ากลัวหุ้นเปิดโดด อย่ากลัวการซื้อแบบหวดขวาที่ offer  เพราะ มันคือ กฎธรรมชาติ เวลาที่หุ้นจะขึ้น  แต่เพียงแค่เราจะควบคุมความเสี่ยงอย่างไรกับ การซื้อแบบพฤติกรรมหุ้นขึ้น

Cr โค้ชเหว่ง super trader republic

เกาะไปกับ Fund Flow

"ตอนที่เริ่มสตาร์ท ผมลงเงินไป 500,000 บาท ตอนนั้นเลือกหุ้นที่คิดว่ามี "ราคาถูก" ผมจะซื้อหุ้นที่ราคาตกลงมามากๆ เลือกหุ้นที่มี พี/อี เรโช ต่ำ และซื้อหุ้นที่มีราคาต่ำกว่าพาร์ เพราะเราคิดว่าราคาถูก เล่นช่วงแรกเจ๊งมาตลอดจนเหลือเงินอยู่ 180,000 บาท สุดท้ายต้องกลับมาทบทวนใหม่แล้วค่อยๆ เรียนรู้ ถ้ามัวแต่ยึดข้อมูลในอดีต สักวันคงหมดตัวแน่!!!" …….. ท.พ.ยรรยง พันธุ์วงศ์กล่อม เศรษฐีหุ้นพันล้าน

มวลชนมักจะเลือกซื้อหุ้นถูก ดักซื้อ รอเก็บ เพราะคาดว่า เดี๋ยวมันจะขึ้น

นักวิเคราะห์ก็ออกมาการันตีว่าปัจจัยพื้นฐานดี เราก็อุ่นใจ ใช่ไหมครับ ว่าเดี๋ยวคงจะขึ้น

ส่วนหุ้นเก็งกำไรที่มันลงมาแรงแล้ว เราก็เข้าเก็บเหมือนกัน ด้วยความหวังว่า เดี๋ยวมันคงจะขึ้น

หุ้นที่มีพื้นฐานดี หรือ หุ้นเก็งกำไร ล้วนแต่ราคาลงมามากแล้วทั้งนั้น ดังนั้น เราดักซื้อรอไว้ มันก็น่าจะขึ้น

อย่างที่บอกไว้ในตอนก่อนล่ะครับ ยังไงมันก็ไม่ขึ้นหรอก หากโชเฟอร์ยังหลับอยู่

ทำไมไม่ดูรถที่มีโชเฟอร์สตาร์ทรอจนเครื่องร้อนแล้ว และโชเฟอร์กำลังจะออกรถล่ะครับ

จริงๆแล้ว เซียนหุ้นทั้งหลาย ไม่ได้สนใจด้วยซ้ำ ว่าหุ้นตัวนั้นพื้นฐานดี หรือ หุ้นตัวนั้น เก็งกำไร เขาเลือกตัวที่มันกำลังจะวิ่ง หรือ เพิ่งวิ่ง กันทั้งนั้น

หุ้นที่ดีในมุมมองของคนเล่นหุ้น ควรจะเป็นหุ้นที่เข้าซื้อแล้วมีกำไร อย่าเกี่ยงเลยว่าหุ้นตัวนั้น พื้นฐานดี หรือ หุ้นตัวนั้น เป็นหุ้นปั่น เพราะนักลงทุนจำนวนมากในตลาด ก็ล้วนเคยมีผลขาดทุนจากการลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีมาแล้วทั้งสิ้น

เพราะการลงทุนในหุ้นที่เราสมมุติกันว่า มีปัจจัยพื้นฐานดี มันก็คือ การเก็งกำไรเหมือนกันล่ะครับ เพียงแต่ว่า มันเป็นการเก็งกำไรจากการเก็งมูลค่ากิจการโดยนักวิเคราะห์ ในขณะที่การเล่นหุ้นเก็งกำไรเป็นการเก็งกำไรจากเม็ดเงินที่ไหลเข้าหุ้นตัวนั้นๆโดยนักเล่นหุ้นในตลาด ณ ขณะนั้น หรือที่เรียกให้ดูแย่หน่อยว่า หุ้นปั่น

แต่จะวิเคราะห์แบบไหน ก็เก็งกำไรทั้งนั้นแหละ ไม่งั้น จะกำหนดราคาเป้าหมาย ราคาที่ควรจะเป็นไปทำไม การกำหนดเช่นนั้น ก็คือการเก็งอยู่ดีนะแหละว่า ถ้าคุณซื้อที่ราคานี้ คุณน่าจะขายได้ที่ราคานั้น

คนที่เข้ามาในตลาดหุ้น ส่วนใหญ่ก็หวังส่วนต่างราคา คาดว่าจะขายได้แพงกว่าราคาที่ตนซื้อมากันทั้งนั้น มีเพียงส่วนน้อยครับ ที่เข้ามาลงทุนระยะยาว เพื่อหวังเพียงเงินปันผล

ดังนั้น หากท่านตกลงปลงใจแล้วว่าจะเข้ามาหากำไรจากส่วนต่างราคา ก็เชื่อว่า หนังสือที่ท่านถืออยู่นี้ จะช่วยปรับปรุงการเทรดของท่านให้ดีขึ้นได้แน่นอน

นี่ ไม่ได้หมายถึง เราสนับสนุนหุ้นปั่นนะครับ แต่ต่างชาติหรือกองทุน หรือ เราๆท่านๆ ซื้อหุ้นก็หวังกำไรกันทั้งนั้น

เก็งว่า รายได้จะเป็นไปตามเป้า เก็งว่าผลประกอบการน่าจะดีขึ้น เก็งว่าต้นทุนน่าจะลดลง เก็งว่าน่าจะได้งานประมูลโครงการใหญ่เข้ามา เก็งว่าต่างชาติจะมาร่วมทุน เก็งว่าราคาขายน่าจะปรับตัวดีขึ้น

ถ้าไม่เก็งกำไร แล้วหุ้นขนาดใหญ่ ราคาตัวละ 100 หรือ 200 บาท จะวิ่งขึ้นไปได้ยังไง วันละ 5% หรือ 8% ทั้งๆที่ ยังไม่รู้เลยว่า รายได้ทั้งปีจะเป็นไปตามเป้าหรือไม่ ผลประกอบการปลายปีจะดีขึ้นจริงหรือไม่ แม้กระทั่งราคาขาย ก็ประเมินยากว่าจะเป็นยังไงต่อไปในอนาคต เพราะราคาของผลิตภัณฑ์บางอย่าง มันแปรไปตามตลาดโลกเป็นหลัก

มันก็เก็งกำไรกันทั้งนั้นแหละ

เพียงแต่หุ้นตัวไหนที่นักวิเคราะห์อธิบายได้ว่ามันขึ้นเพราะอะไร ก็จะเรียกว่าหุ้นพื้นฐานดี หุ้นตัวไหนหาเหตุมาใส่ผลไม่ได้ ก็จะเรียกว่า หุ้นปั่น

แล้วการที่หุ้นขนาดใหญ่ มีแรงซื้อเข้ามามาก ออกอาการวิ่งขึ้นพรวดๆ ซึ่งเกิดจากการใช้เงินกวาดซื้ออย่างรวดเร็วและรุนแรงภายในวันเดียว ไม่เรียกว่าปั่นหรือครับ ไม่เรียกว่าเก็งกำไรหรือครับ หรือ ปัจจัยพื้นฐานของกิจการสามารถดีวันดีคืนทันตาเห็นภายในเวลาแค่วันเดียว

การวิเคราะห์ตามปัจจัยพื้นฐาน ก็มีรากฐานแก่นแท้ มาจากการเก็งกำไรเหมือนกัน เพียงแต่เรียกให้ดูดีในคำที่แตกต่างกันไป เช่น เรา Estimate ว่า, เรา Forecast ว่า, เรา project ว่า, เรา think ว่า, เรา evaluate ว่า, เรา calculate ว่า, เรา appraise ว่า, เรา compute ว่า ……

จริงๆแล้ว ก็คือ เรา Guess ว่า … นั่นเอง เพราะโลกของความเป็นจริง ใครจะมาทำนายทายได้อย่างแม่นยำล่วงหน้าเป็นปีๆ เพียงแต่การวิเคราะห์ตามปัจจัยพื้นฐาน มันดีกว่าการเดาสุ่มแทงสูงต่ำ เพราะเป็นการคาดการณ์บนพื้นฐานที่มีหลักมีเกณฑ์

เห็นบางทีให้ ราคาเป้าหมาย 12 เดือน เท่านั้นเท่านี้ พอหุ้นร่วงลงมา “เรายังคงคำแนะนำซื้อด้วยราคาเป้าหมายเท่านั้นเท่านี้” พอหุ้นร่วงลงอีก นักวิเคราะห์ก็มาบอกอีก “เรายังคงคำแนะนำให้ซื้อด้วยราคาเป้าหมายเท่านั้นเท่านี้” พอหุ้นร่วงลงสุดๆ นักวิเคราะห์ก็เปลี่ยนคำแนะนำ “อ้อ โทษที เราปรับประมาณการรายได้ลงมาแล้ว เราแนะนำขาย ปรับราคาเป้าหมายลงเหลือ xxx บาท” แป่ววววววว! นี่ก็แสดงว่า เก็งกำไรผิดแล้วนะซิ

ในเมื่อเป็นอย่างนี้ แล้วเราจะเกี่ยงไปทำไมครับว่าหุ้นตัวไหนเป็นหุ้นพื้นฐาน หุ้นตัวไหนเก็งกำไร

ก็ตัวไหนมันจะวิ่งขึ้น เราก็ซื้อตัวนั้น ไม่ดีกว่าหรือครับ

อ้าว แล้วเราจะรู้ได้ไงล่ะว่าหุ้นตัวไหนจะขึ้น

ผมไปเจอคุณอาคนนึงในห้องค้า แกบอกว่า แกไม่เชื่อใครทั้งนั้น แกวิเคราะห์เอง ว่าแล้ว แกก็วางฟอร์มว่ามีคามรู้ ขอข้อมูลมหาศาลจากทางโบรกเกอร์ เพื่อมาวิเคราะห์หุ้น กว่าท่านจะวิเคราะห์เสร็จ ราคาหุ้นก็ไปไหนต่อไหนแล้วครับ

ถ้าท่านอยากประสพความสำเร็จ อย่าทำเป็นเก่งมาวิเคราะห์หุ้นเอง นอกเสียจากท่านจะมั่นใจว่า ท่านมีความสามารถในการวิเคราะห์บริษัทนั้นๆได้ดีกว่าต่างชาติ กองทุน รายใหญ่ และนักวิเคราะห์

ขนาดกองทุนต่างชาติ ยังต้องมีทีมงานผู้เชี่ยวชาญมาประจำในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมเลย แล้วท่านจะเก่งขนาดไหนครับ ถึงจะสามารถประมาณภาวะเศรษฐกิจโลก อัตราการเจริญเติบโตของจีดีพี อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย และ ราคาน้ำมัน ในอนาคต ได้แม่นยำกว่าเขา

ถ้าท่านบอกว่า ท่านวิเคราะห์กิจการเป็น คำถามคือ ท่านสามารถประมาณการความต้องการสินค้า และ อัตราการเจริญเติบโตในอุตสาหกรรมนั้นๆได้แม่นยำกว่าเขาหรือเปล่า ท่านสามารถประมาณการจำนวนยอดขายและราคาขายในอนาคตได้แม่นยำกว่าเขาหรือเปล่า

ท่านสามารถประมาณการต้นทุนการผลิตในสินค้าแต่ละประเภท ในทุกๆองค์ประกอบของต้นทุนการผลิตได้แม่นยำกว่าเขาหรือเปล่า และ ท่านยังคาดการณ์ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหารได้แม่นยำกว่าเขาอีกด้วยหรือเปล่า

และกว่าที่ท่านจะวิเคราะห์เสร็จ ราคามันไม่ไปไหนต่อไหนแล้วหรือครับ

ก่อนกองทุนไม่ว่าจะเป็นไทยหรือเทศก็ตาม จะใส่เม็ดเงินลงทุนในหุ้นแต่ละตัว เป็นพันล้าน หรือ หลายพันล้าน เขาไม่ใช่ไร้สตินะครับ เขาวิเคราะห์ดีกว่าเรา เขามีทีมงาน ข้อมูล และเครื่องมือ ที่สมบูรณ์ครบถ้วนมากกว่าเรา และถ้าเขาวิเคราะห์ผิด กองทุนเขาเสียหายมากกว่าเราเยอะ

รายใหญ่ หรือ เจ้าของกิจการ ก็เช่นกันครับ ก่อนที่เขาจะอัดฉีดเม็ดเงินหลายร้อยล้านเข้าไปในหุ้นเก็งกำไร เขาต้องเช็คกราฟ เช็คข้อมูลภายใน จนเป็นที่แน่นอนแล้ว หรืออาจขอให้นักวิเคราะห์ไปวิเคราะห์มาให้เสร็จสรรพแล้ว เขาถึงจะอัดฉีดเม็ดเงินเข้ามา

ก็ในเมื่อมันเป็นเช่นนี้ ทำไมเราจะไม่เกาะติดรายใหญ่ที่เขาทำการบ้านมาดี เกาะติดเม็ดเงินเขาไปล่ะครับ จะมาทำเก่ง นั่งวิเคราะห์พื้นฐานกิจการเองอยู่ทำไม ด๊อกเตอร์ทางการเงินเจ๊งมามากต่อมากแล้ว จริงๆนะครับ

ถ้าช่วงนี้ กองทุนต่างชาติเห็นแนวโน้มปิโตรเคมีดี ท่านจะไปดักซื้อกลุ่มธนาคารนั่งรอทำไมล่ะ ถ้าราคาน้ำมันมีแนวโน้มพุ่ง แต่ไปซื้อดักรอในหุ้นกลุ่มรับเหมาก็คนละเรื่อง ถ้ารถคันนี้จะออก ท่านกลับไปหาขึ้นรถเมลล์ที่มีที่นั่งว่างอยู่เพียบ แล้วเมื่อไหร่ท่านจะได้ออกจากท่ารถล่ะครับ

ถ้าท่านจะขายซีดี ก็คงต้องดูว่า ช่วงนี้เขาฮิตอะไร ถึงราคาต้นทุนจะแพงหน่อย ก็ดีกว่าเพลงไทยเดิมต้นทุนต่ำ แต่ไม่รู้จะไปขายใคร ใช่ไหมครับ

หุ้นก็เหมือนกัน ดูสักนิดนึงว่าเม็ดเงินทะลักเข้าไปเล่นกลุ่มไหนกันอยู่ ไม่งั้น ตกรถแน่ แล้วยังชอบมาหลอกตัวเองอีกนะ คนเรา ว่าเดี๋ยวมันก็คงจะมา

มีนักลงทุนฟูลไทม์ อยู่ 2 ท่าน ขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นความต่าง ท่านแรกเคยเป็นนักวิเคราะห์มือดีของโบรกเกอร์ดังแห่งหนึ่ง รอบรู้สารพัดที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์หุ้น ส่วนอีกท่านหนึ่งเป็นเซียนหุ้นหลายร้อยล้าน ผู้ชำนาญในการทำกำไร

ท่านแรก ก็อยู่ในตลาดมาพอสมควร โดยเริ่มจากการเป็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ วิธีการเล่นหุ้นของท่านก็คือ ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจเลือกลงทุนในหุ้นตัวไหน ท่านจะทำการศึกษากิจการของบริษัทมาเป็นอย่างดี แล้วค้นหารายชื่อผู้ถือหุ้น อ่านดูนโยบายบริษัทและนโยบายเงินปันผล แล้วทำการวิเคราะห์งบการเงิน แล้วเปรียบเทียบอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อให้ทราบแนวโน้ม แล้วทำประมาณการกำไรขาดทุนจากการดำเนินงาน จากนั้นทำการประมาณการกระแสเงินสด เพื่อคำนวณหามูลค่ากิจการ เมื่อได้มูลค่ากิจการแล้ว จึงนำเอาจำนวนหุ้นมาหาร ผลลัพธ์ที่ได้คือ ราคาที่ควรจะเป็นต่อหุ้น

ปรากฏว่า เมื่อท่านได้ราคาที่ควรจะเป็นออกมาแล้ว กลับทำใจซื้อไม่ลงอีก เพราะมีคนลุยซื้อไปตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว จนราคาขึ้นไปมาก สูงกว่าราคาที่ควรจะเป็นไปซะแล้ว ท่านเลยต้องเริ่มต้นทำการศึกษาหาหุ้นตัวอื่นแทน

ท่านที่สองคือ เสี่ย ม. ขออภัยที่ต้องพาดพิง …… เสี่ย ม. มีประสบการณ์สูงในตลาด ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากมาย ท่านเป็นประเภท “Low profile, High Profit” ไม่โอ้อวด ไม่ขี้โม้ ชอบเก็บตัวอยู่ในห้อง VIP เล็กๆ แต่เก็บโกยกำไรมหาศาล แปลงตลาดหุ้นเป็นเครื่อง ATM ส่วนตัว วันแล้ววันเล่า …… ในช่วงตลาดดีๆ เทรดไปได้ กว่าพันล้านบาทต่อเดือน

กลยุทธ์หลักของ เสี่ย ม. คือ “ยิ่งขึ้น ยิ่งซื้อ” ซึ่งความจริงแล้ว ก็เป็นกลยุทธ์เดียวกันกับเสี่ยพันล้านทั้งหลายที่เคยเรียนร่วมชั้นกันมา ไม่ว่าจะเป็น เสี่ย “ย.” หรือ เสี่ย “ป.” ผู้โด่งดัง

แต่ดูเหมือนว่า กลยุทธ์นี้ จะตรงข้ามกันสุดโต่งกับวิธีการเล่นของคนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้น

คนสติปัญญาน้อยๆอย่างผมก็ไม่แน่ใจว่านี่เป็นอีกปัจจัยนึงหรือเปล่า ที่ทำให้ เซียนต้น นักลงทุนรุ่นเยาว์ เศรษฐีหุ้นฟูลไทม์อายุ 29 สรุปว่า

“คนเล่นหุ้นเจ๊งมีมากกว่าคนเล่นหุ้นแล้วรวย คนส่วนใหญ่ ชอบเข้าซื้อหุ้นตอนที่เขาเลิกเล่นกันหมดแล้ว เพราะมีความรู้สึกว่า ซื้อได้ถูกลง”

แต่ที่แน่ๆ เสี่ยทั้งหลายใช้กลยุทธ์นี้กันทุกคนไม่มีข้อยกเว้น ที่มา : ThaiDayTrade Credit
--------------------------------------------------------------------

เดี๋ยวไปฟังเสี่ย ม. มั่ง แกคิดยังไง ทำไม ยิ่งขึ้นต้องยิ่งซื้อ

“นี่นะคุณ ถ้ายิ่งซื้อยิ่งขึ้น ยิ่งซื้อยิ่งแพง แปลว่า หุ้นกำลังจะทะยานขึ้น เงินกำลังวิ่งเข้า”

“ก่อนที่เขาจะไล่ซื้อตัวไหนกันมากๆ เขาวิเคราะห์มาหมดแล้ว เราแค่เกาะกระแสเงินเขาไปก็พอ หาให้เจอว่าเงินกำลังวิ่งไปที่ไหน” ความลับของเสี่ยหุ้นที่มวลชนส่วนใหญ่ไม่อยากรู้ ถูกเปิดเผย

“ถ้าผมซื้อไปแล้วมันลง แล้วยังลงอีกให้ผมได้ซื้ออีกเรื่อยๆนะ ซวยแล้ว คุณรู้ปล่าว ถ้ายิ่งซื้อได้ถูกลง ผมจะหยุดเลย สงสัยเราจะผิดแล้ว แล้วถ้ายังลงมาให้ซื้อได้ถูกลงเรื่อยๆอีก ผมขายทิ้งหมด” เสี่ย ม. เผยกลยุทธ์กล้วยๆที่ฝืนความรู้สึกของคนทั่วไป

ยิ่งกลัวยิ่งขึ้น ยิ่งกล้ายิ่งลง

ไม่รู้ ว่า เราถูกปลูกฝังมาหรือเปล่าว่าต้องเลือกซื้อหุ้นที่ถูกๆ จริงๆแล้ว หุ้นถูกมีอยู่เต็มตลาดเลยนะครับ ราคาไม่ถึงมูลค่าทางบัญชีมีเพียบเลย แต่ทำไม ถูกยังไงก็ไม่มีใครเอาล่ะครับ

ถ้าจะพูดจาเป็นภาษาเศรษฐศาสตร์ ก็ต้องบอกว่า การเล่นหุ้นให้ได้เงิน ต้องเลือกหุ้นตัวที่มี Demand มากกว่า Supply ที่รองรับได้ ณ ขณะนั้น หุ้นแบบนี้แหละ เสี่ย ม. ชอบบบบบ เพราะเล่นแล้วได้ตังค์

แต่ก็แปลก ตอนขึ้นแรกๆ ไม่ยักจะกล้าเข้าซื้อกัน พอมันขึ้นไปมากๆกลับยิ่งเสียดาย

พอมันลงมาได้ไม่นาน เราก็กลับไปมองว่า ถูกกว่าราคาก่อนหน้านี้ตั้งเยอะ ดังนั้น ยิ่งลงเราเลยยิ่งซื้อกัน เพราะหวังว่า เดี๋ยวมันจะวิ่งกลับขึ้นไปที่เก่า โดยหารู้ไม่ว่า เผลอๆ เขาจะบ้ายบายตัวนี้กันแล้วด้วยซ้ำ

มาถึงตรงนี้ ก็ยังทำใจยากอยู่ดีกับกลยุทธ์ยิ่งขึ้นยิ่งซื้อ ใช่ไหมครับ

“แล้วถ้าไปซื้อหุ้นตอนราคายิ่งขึ้น มันไม่ยิ่งเสี่ยงหรอกหรือ” ท่านถามผมในใจอยู่แน่เลย บังเอิญผมได้ยินครับ เลยขออนุญาตตอบนอกใจดีกว่า

เมื่อท่านเห็นหุ้นกำลังวิ่งหน้าตั้งขึ้นไป ท่านอาจต้องเช็คราคา เช็คกราฟหน่อยแล้วล่ะครับ

หากหุ้นตัวนั้น เพิ่งฟื้นจากจุดต่ำสุดของราคาขึ้นมาเป็นวันแรกๆ และ ผ่านแนวต้าน เก่าขึ้นมาได้พร้อมด้วยปริมาณการซื้อขายที่หนาแน่น อย่างนี้ แปลว่า ของจริงครับ “เจ้าเข้าแล้ว” แบบนี้ ยิ่งขึ้นต้องยิ่งซื้อครับ

อยากให้เห็นภาพประกอบหน่อยนึง ขอสมมุติเป็นตัวเลขแล้วกันครับ

หุ้นตัวหนึ่ง พื้นฐานอยู่ในเกณฑ์ดี แถมเป็นผู้ผูกขาดในอุตสาหกรรมด้วยซ้ำ แต่การส่งมอบงานที่ล่าช้า ทำให้ผลกำไรที่ผ่านมา ลดลง ราคาหุ้นก็เลยร่วงลงมาโดยตลอด จาก 3 บาท มาเหลือเพียง 2 บาทเท่านั้น

ราคาลงมาถูกแล้ว แต่ผมก็ไม่รู้ว่ามันจะลงอีกไหม

สมมุติแล้วกันครับ ว่าผมรู้แน่ๆ ว่าราคาไม่ลงไปกว่านี้อีกแล้ว แต่ผมก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่า ราคามันจะขึ้นเมื่อไหร่ ขืนไปซื้อดักไว้ เพียงเพราะว่า มันถูกและปัจจัยพื้นฐานดี เงินทุนของผมอาจจมไปนาน

ตลอดระยะเวลา 6 เดือน ผมแอบชำเลืองสายตา จ้องมองหุ้นตัวนี้มาโดยตลอดครับ แต่มันไม่เคยแคร์ความรู้สึกผมเลย

ในปลายเดือนที่ 6 ราคาหุ้นค่อยๆฟื้นตัวขึ้นจาก 2.08-2.10 บาท ขึ้นมาชนแถว 2.20 บาทบวกลบ แล้วก็ร่วงลงอีก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ ทุกครั้งที่พยายามขึ้นมา โวลุ่มเทรดน้อยเกินไป แต่เอาเถอะ อย่างน้อย มันก็พยายามตะเกียกตะกายขึ้น โดยไม่กลับไปที่จุดต่ำสุดเดิมอีก

หุ้นแบบนี้ เริ่มน่าสนแล้วครับ หุ้นที่ยกจุดต่ำสุดขึ้นมาเรื่อยๆ ขาดแต่เพียงโวลุ่มที่มากพอเท่านั้นเอง แบบนี้ ยังต้องติดตามมองมันต่อไป

แล้วต้นเดือนที่ 7 วันแห่งการรอคอยก็มาถึง เช้าวันนั้น โวลุ่มทะลักเข้ามามากมาย หลังตลาดหุ้นเปิดได้ไม่นาน แนวต้านแถว 2.20 บาทบวกลบ สามารถผ่านขึ้นไปได้อย่างง่ายดาย พร้อมด้วยโวลุ่มที่ยืนยันการกลับมาของ “เขา” โดยไม่มีทีท่าว่าจะร่วงลงมาต่ำกว่า 2.20 บาทบวกลบอีกเลย

แบบนี้ ต้องลุย!

คนส่วนใหญ่ อาจรู้สึกว่า มันขึ้นมามากแล้ว เพราะมันขึ้นมาตั้งแต่จาก 2 บาท กว่าๆแน๊ะ

คนส่วนใหญ่ อาจต่อรองราคา ตั้งซื้อที่ 2.14 บาท หรือ 2.16 บาท ซึ่งถ้าได้จริง ท่านแย่แน่ แสดงว่า ท่านจะต้องเงินจมต่อไปอีกนานแค่ไหนก็ไม่รู้ เพราะถ้าท่านซื้อได้ที่ราคานั้น แสดงว่า มันหลุดแนวรับลงมาแล้ว

สำหรับผม ผมเคาะซื้อทันทีที่มันผ่านด่านเดิมแถว 2.20 บาท ไปได้ครับ และตามซื้ออีก ที่ 2.30 และ 2.34 บาท ซึ่งแต่ละครั้งที่เคาะซื้อ เป็นราคาสูงสุดของวันตลอดเลย เพราะหลังจากเช็คดูแล้ว แนวต้านถัดไป ยังยาวไกลอีกมาก

ส่วนท่านที่รอซื้อที่จุดต่ำสุดของปี แถว 2 บาทต้นๆ หรือ รอซื้อที่ 2.14 บาท หรือ 2.16 บาท ก็จะยิ่งไม่กล้าซื้อเข้าไปใหญ่ เพราะวันนั้น หุ้นตัวนี้ปิดที่ 2.38 บาท และมีแนวโน้มจะวิ่งตรงไปสู่ 2.70 ในเวลาไม่นานด้วย

หากท่านเห็นหุ้นวิ่ง ถ้าท่านซื้อไล่ราคา โดยไม่ได้เช็คอะไรเลย ท่านอาจจะเข้าซื้อที่แนวต้านก็ได้ ใช่ไหมครับ อย่างนี้ เรียกว่า แมงเม่า บินเข้ากองไฟ หุ้นตัวไหนกระดิก วิ่งตามเข้าไป ก็ติดแหง็ก

แต่หากท่านเห็นแล้วว่า ราคาที่วิ่งขึ้นไป ยังไม่ผ่านแนวต้านอยู่ดี ท่านก็จะไม่เข้าซื้อ และเมื่อไหร่ก็ตาม ที่มันผ่านด่านหินไปได้ด้วยเม็ดเงินมหาศาล แบบนี้ ยิ่งขึ้นต้องยิ่งซื้อครับ ความร่ำรวยจะเกิดกับท่าน ชั่วข้ามคืน ไม่จำเป็นต้องไปดักซื้อดักเก็บล่วงหน้า 5-6 เดือน

ก่อนจะเข้าซื้อหุ้นตัวไหน ตามกลิ่นเม็ดเงินให้เจอซะหน่อยดีไหมครับ ว่าเม็ดเงินในตลาด กำลังวิ่งไปที่ไหน

หุ้นสุดเจ็บปวด

สุดเจ็บปวด! 25 หุ้นแอบช้ำ ช่วง SET ดีด 1,700 จุด

ตลาดหุ้นไทยที่ทะยานเหนือ 1,700 จุด อาจจะสร้าง “ความปิติ” กับนักลงทุนที่ถือหุ้นมาตั้งแต่ปลายสิงหาคม
SET วิ่งจากระดับ 1,585.79 จุด ณ วันที่ 28 สิงหาคม ขึ้นไปสูงสุดที่ 1,729.80 จุด ในวันที่ 17 ตุลาคม คิดเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้น 9%

ท่ามกลางนักลงทุนที่ยิ้มแก้มปริจากพอร์ตที่ทะยาน ยังมีฝั่งที่ชอกช้ำจากการถือหุ้น ที่ต้องทนเจ็บปวด เพราะถือ “ผิดตัว” อีกมาก

ทันหุ้นออนไลน์ ไล่เช็คหุ้นที่ปรับตัวลดลงมากที่สุด ด้วยข้อมูลจากวันที่ 28 สิงหาคม-17 ตุลาคม 2560
และนี่คือ 25 อันดับหุ้นที่นักลงทุนต้องทนเจ็บปวดจากราคาหุ้นที่ร่วงลงมาแรงมากกว่า 10% ได้เพียงจ้องตาปริบๆ มองเพื่อนได้กำไร

ใช่ตัวที่คุณถืออยู่หรือไม่ เช็คด่วน!

อันดับ 1 AQ บริษัท เอคิว เอสเตท จำกัด (มหาชน) หุ้นอสังหาเจ้าปัญหา เข้าตลาดมาอีกครั้ง ในวันที่ 9 ตุลาคม หลังหยุดซื้อขายมานานตั้งแต่ปลายปี 2558 การรีเทิร์นครั้งนี้ ราคาเปิดที่ 0.30 บาท ก่อนที่จะขึ้นไปแตะ 0.31 บาท

จากนั้นก็เกิดมหกรรมเทขายกระหน่ำฟลอร์แล้วฟลอร์แล้ว ท่ามกลางกลุ่มทุนใหม่ที่เข้าไปก่อนเปิดเทรดมีต้นทุนเพียง 0.05 บาทเท่านั้น ล่าสุด ณ 17 ตุลาคม ราคาปิดที่ 0.06 บาท ช็อคซีนีม่า จากราคาที่ร่วง
ลงถึง 80.65%

อันดับ 2 AJA บริษัท เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หุ้นเครื่องใช้ไฟฟ้า AJ พระเอกตัวจริงที่เคยสร้างกระแสกับแจ็คหม่า แต่ต้องหยุดการซื้อขายเพราะไม่ส่งงบการเงินไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 ตามกำหนดตั้งแต่วันที่15 พฤษภาคม 2560 กลับมาซื้อขายใหม่อีกที 29 กันยายน 2560

พร้อมข่าวร้ายผลประกอบการไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองขาดทุนสุทธิรวม 227.50 ล้านบาท ขณะที่ระยะเดียวกันปีก่อนกำไรสุทธิ 205.62 ล้านบาท ขณะที่ บริษัทลูกตู้เติมเงินมีปัญหาชำระหนี้จำนวนกว่า 700 ล้านบาท ทำให้ต้องปัดออกไปให้เสี่ยยักษ์ ราคาจากปิดเดิม 1.18 บาท ล่าสุด ณ 17 ตุลาคม ร่วงลงเหลือ 0.63 บาท ขาดทุนเบ็ดเสร็จ 46.61%

อันดับ 3 PACE บริษัท เพซ ดีเวลลอปเมนท์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เจ้าของตึกมหานคร ตึกที่สูงที่สุดในไทย ที่เคยเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ปีที่ผ่านมา ต้องเจอมรสุมการโอนห้องที่ล่าช้ายืดเยื้อ จนกระทบต่อรายได้ และ กำไร ซึ่งในแง่การดำเนินงาน บริษัทขาดทุนอย่างมากจนเสี่ยงต่อส่วนทุนติดลบ

แต่แล้วไตรมาส 2 ก็เกิดประเด็น เมื่อ PACE ปรับวิธีการบันทึกงบการเงินใหม่ ด้วยการสลัดบริษัทย่อยที่ดำเนินธุรกิจจุดชมวิวออกไป หลังจากได้มีการขายหุ้นบางส่วนให้ต่างชาติ เปลี่ยนมาเป็นบันทึกเงินลงทุนแทน จนทำให้บริษัทกลับมามีกำไรถึง 5 พันล้านบาท

แต่ด้วยการตีมูลค่ายุติธรรมอย่างมหาศาล ทั้งๆที่ยังไม่เริ่มดำเนินธุรกิจ ทำให้เกิดข้อกังขา และ ห่วงว่าจะต้องมีการแก้ไขงบการเงิน นั้นทำให้หุ้น PACE ที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดินอยู่แล้ว ณ วันที่ 28 สิงหาคมราคาอยู่ที่ 2.16 บาท กลับร่วงลงไปอีก เมื่อ ก.ล.ต. ถามไถ่ถึงสถานะบริษัท ล่าสุด ณ 17 ตุลาคม ราคาปิดที่ 1.34 บาท วูบอีก 37.96%

อันดับ 4 ASN บริษัท เอเอสเอ็น โบรกเกอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัทนายหน้าประกันวินาศภัยและชีวิต หุ้นน้องใหม่ที่เข้าตลาดมาช่วงต้นปี สิงหาคม 2559 ด้วยราคาที่ไล่กันสูงสุด 9.50 บาท มาปีนี้หงอย ถูกนักลงทุนกระหน่ำเทขายหุ้นกันเป็นจำนวนมาก หลังจาก ประกอบกับผลงานในไตรมาส 2 พลิกขาดทุนหน้าตาเฉย จึงสงสัยว่า มีอะไรเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหรือเปล่า ถึงขายแหลกกันขนาดนี้ จากราคา 5 บาท มีการกดให้ลงมาอีกเหลือ 3.76 บาทในวันที่ 17 ตุลาคม ลงไปอีก 24.80% เฮ้อ!!!!

อันดับ 5 FVC บริษัท ฟิลเตอร์ วิชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจ 1ให้บริการระบบน้ำ 2บริการการแพทย์ และ3ที่พักอาศัย แม้ผู้บริหาร เคยกล่าวว่า รายได้และกำไรปีนี้ทำสถิติสูงสุดใหม่ จากปี 59 ที่มีรายได้ 397.10 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 12.31 ล้านบาท พร้อมกับการขยายธุริกจเพิ่มการเติบโต แต่ดูเหมือนราคาหุ้นไม่สอดคล้อง จาก 2.76 บาท ลงแบบงงๆ มาอยู่ที่ 2.10 บาท อ่วมไปอีก 23.91%

ขณะที่ GL ณ วันที่เช็คราคา 17 ตุลาคม ติดอันดับหุ้นร่วงไป 14.84% แต่จากการถูกระหน่ำขายไม่เลิก ด้วยเหตุวิตก ก.ล.ต.กล่าวโทษผู้บริหารแต่งงบ ล่าสุดราคาวันที่ 18 ตุลาคม ลงฟลอร์อีกที่ 10.90 บาท คิดเป็นการร่วงลงถึง 40%

BLA ก็ติดอันดับเช่นเดียวกันจากการที่ แบงก์กรุงเทพ ไปจูบปาก AIA ทำให้เกิดความกังวลด้านยอดขายประกันผ่านแบงก์ที่เป็นหัวใจหลักของบริษัท

รวมไปถึงหุ้นใหญ่ค้าปลีกอย่าง IT และ BIGC ก็ร่วงในยามตลาดขึ้นเช่นกัน

คนที่ถือหุ้นเหล่านี้จึงได้แต่เพียงมองเพื่อนมั่งคั่งตาปริบๆ ในช่วงนี้ ช่างน่าเศร้า!

ทำไม?คนดีถึงบริหารทีมขายล้มเหลว ?

Oct  18,  2017.
“ครบเครื่องเรื่องขาย  -  By : ชนะ ก่อกิจกำธร” 

•  “ทำไม คนดี ถึงบริหารทีมขาย ล้มเหลว ?”

o  “จะว่าไป ต้องโทษ ผู้บริหาร และการจัดการภายใน ที่ไม่มีแผนการสร้างคน ระยะยาว แต่ใช้วิธีแก้ปัญหาชั่วคราว แต่ก่อ วิกฤต ในอนาคต”

o  คนดี บริหารทีมขายแล้วล้มเหลว มีหลายสาเหตุ ที่เคยพบๆมา จัดเป็นหมวดหมู่ ก็ สามสี่ลักษณะใหญ่ เช่น ไม่เคยทำงานขาย / ไม่ได้ประสบความสำเร็จในการทำงานขาย / ไม่รู้แนวทาง ที่จะทำให้คนทำงานขายได้  และการแก้ปัญหา ต่างๆ ไม่ได้

o  ลักษณะประเภท “ไม่เคยทำงานขาย” - อันนี้เห็นหลายที่ ที่ผ่านๆมา แล้วคนก็ชอบถามว่า “เอ๊ะ แล้วทำไม ที่นั่นถึงให้เขามาคุมทีมขาย ?” อันนี้ก็หลายสาเหต เช่น คนคุ้นเคยกับผู้ใหญ่  หรือ เขาอยู่มานาน ก็เอามาดู หรือเอามาดูไปก่อน ขัดตราทัพ และก็ยังหาคนมา เป็น ผจก.ทีมขาย ไม่ได้   และดูแล้ว “เขาเป็นคนดี”

o  ลักษณะประเภท “ไม่ได้ประสบความสำเร็จ ในการทำงานขาย” – คือเอาคนขายที่ “มือไม่ถึง” ขึ้นมาคุม นำทีมขาย / และก็มักพบ เจอ กับหลายองค์กรที่ “ตัวเลือก” น้อยลง และก็ต้องเอาเขาขึ้นมาก่อน แต่เขาเป็นคนดี แบบว่านอนสอนง่าย เมื่อเอาขึ้นมา ก็อย่างที่บอก “มือไม่ถึง” จึงนำ และสร้างทีมเสือ ลำบาก เพราะตอนทำเอง ก็ทำไม่ได้

o  ลักษณะประเภท “ไม่รู้แนวทางที่จะทำให้คนทำงานขายได้” - ลักษณะนี้มีหลายอย่าง คือ ทั้งอาจไม่เคยทำงานขาย หรือเคยทำงานขายแต่คนละอุตสาหกรรม เช่นข้ามมาจากธุรกิจอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน หรือแม้แต่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน แต่คนละตลาดกลุ่มเป้าหมาย บางทีก็ไปไม่รอด เช่นเคยดูลูกค้ารายย่อย ค้าปลีก แต่ต้องมาดูแบบค้าส่ง หรือลูกค้าองค์กร  หรือการไม่รู้แนวทางที่จะทำให้ทีมขายได้ มาจากตนก็ไม่เคยขายได้ จึงบอก สอน บริหารทีมไม่ได้ หรือการไม่รู้แนวทางที่จะทำการแก้ปัญหาให้คนขาย สอนงานคนขายไม่เป็น หรือไม่เคยออกตลาดกับ Sales ด้วยซ้ำ สิ่งต่างๆเหล่านี้ ก็ทำให้ นำทีมล้มเหลว ทั้งๆที่ อาจจะเป็น “คนดี” 

o  กับอีกกรณีคือ อยู่ในธุรกิจนั้นๆด้วย แต่มาจากคนละแผนก เช่น มาจาก ฝ่ายผลิต มาจากฝ่ายการเงิน หรือมาจากไอที ก็ยังเคยเห็น  และต้องมาคุม ตลาด และการขาย ก็จะเห็นสไตล์ ผู้นำทีมขาย กลุ่มนี้ เน้นให้คนของเขา แม่นโปรดักต์ และเชื่อมั่นแต่เรื่องผลิตภัณฑ์ต้องเจ๋ง หรือของดี แล้วจะขายดีเอง ไม่เข้าใจเรื่องสร้างแรงจูงใจ ไม่รู้เทคนิคการขาย เน้นแต่โปรดักต์ และไม่ค่อยเข้าใจการสร้าง พัฒนาทีมขาย ดีไม่ดี เรื่อง สัมพันธ์กับคนน้อยมาก แถม พูดจาแบบ คนฟังยาก หรือไม่น่าฟังด้วย ก็จะเห็น “Sales ออก” วงแตก และยังไปตัดสินว่า คนขายเหล่านั้น ไม่ตั้งใจ ไม่อดทน เห็นแก่เงิน ต่างๆ ฯลฯ

o  “คนดี” ไม่มีความสามารถ ก็ทำให้เสียหายได้ เพราะความสามารถ หมายถึง ความรู้ และทักษะ ซึ่งเขาไม่มี จึงทำให้ไปไม่ได้ ไปลำบาก  จึงต้องหาทั้ง “คนดี” และมีความสามารถ และแก้ปัญหา จัดการบริหารต่างๆได้ ภายใต้สถานการณ์ “ปัจจุบัน” เพราะบางคน อาจเคยสำเร็จ แต่คนละสถานการณ์ ก็มี คนละช่วงเวลา คนละสิ่งแวดล้อม หรือทรัพยากร ต่างๆ ไม่เหมือนกัน เช่น เคยอยู่องค์กร ที่มี งบประมาณ สนับสนุน กิจกรรมการทำการบริหารงานขาย เครื่องไม้เครื่องมือ รถ  อุปกรณ์การขาย รวมถึงดูแลลูกค้า พอร์ตเก่า คือมีคนซื้อ มีคนใช้ สินค้า หรือบริการอยู่แล้ว แต่เมื่อมาบริหารแบบ “แทบไม่มีอะไร” ยิ่งต้องเริ่ม “สร้าง และหา” ตลาดใหม่ กับเครื่องมือ และทรัพยากร ที่จำกัด ก็อาจไปไม่ได้เช่นกัน

o  ดังนั้น หากจะทำการแก้ปัญหา เรื่องการสร้างหัวหน้างานทีมขาย หรือผู้จัดการทีมขาย ที่เก่ง และขึ้นมา “รอด” กับเติบโต ก็มี 2 ปัจจัย สำคัญ  หนึ่งคือ ผู้อำนวยการฝ่ายขาย ต้องเก่ง  และ สอง มีการเตรียมสร้าง หัวหน้าทีมขาย หรือผู้จัดการทีมขาย ไว้ล่วงหน้า

o  หาก ผอ.ทีมขาย เก่ง ก็จะสร้าง และแก้ปัญหา เรื่อง ผจก.ทีมขายเก่งได้ แต่ที่เห็นหลายธุรกิจ ผอ.ทีมขาย พอไม่เก่ง ก็อยากหา ผจก.ทีมขายเก่ง มาทำ ดูเหมือนจะมาทำหน้าที่งาน ผอ.ขาย ด้วยซ้ำ นี้คือการไม่เข้าใจระบบการจัดการบริหารงานขาย ซึ่งธรรมชาติ ผอ. ทีมขาย เก่ง ก็ต้องมาจาก ผจก.ทีมขายเก่ง และผจก.ทีมขายเก่ง ก็ต้องมาจาก คนขายเก่ง  ดังนั้น หากปั้น และสร้าง พนักงานขายเก่ง ก็มองไปให้ถึงเลยว่า ระยะยาว เป็น ผอ.ขายเก่ง  ซึ่ง ทาง HR ก็ต้องพูดคุย เตรียมการต่างๆ เหล่านี้ ร่วมด้วยกับทีมขาย ก็คือ ประเด็นที่สอง ที่ต้องมีแผนการสร้าง หัวหน้า หรือผจก.ทีมขาย ในระยะยาว ก็จะไม่ติดปัญหาตามที่เขียนมาในช่วงต้น

10 คุณสมบัติของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จ


1. มีพื้นฐานทางการเงินที่ดี คือรู้เรื่องการจัดการการเงิน และมีผลลัพธ์ทางการเงินที่ดี

2. มีความกระตือรือร้นในการหาข้อมูลและความรู้

3. มีแผนการลงทุนที่ชัดเจน ควรตั้งคำถามในการลงทุน

4. เป็นผู้ที่โฟกัสการลงทุน  มีทักษะและเชี่ยวชาญในการลงทุนอย่างใดอย่างหนึ่ง และอยู่กับมันอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน

5. มีวินัยในการลงทุนสูง ยืนหยัดที่จะทำการแผนการที่วิเคราะห์ไว้ เมื่อวิเคราะห์แล้วก็อดทนรอหาจังหวะในการลงทุน ควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้

6. ไม่มองแต่ความสำเร็จ แต่ต้องวางแผนรับมือกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นไว้ด้วย  นักลงทุนที่ไม่ประสบผลสำเร็จมักชอบทำนายอนาคต  แต่ผู้ที่ประสบความสำเร็จจะวางแผนรับมือทั้งเรื่องดีและไม่ดี รวมทั้งหาทางป้องกันความเสี่ยงให้เกิดขึ้นหรือเสียหายน้อยที่สุด

7. มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้ดี ไม่ตื่นเต้นกับข่าวที่อาจทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้  สิ่งสำคัญที่จะช่วยได้คือ มีข้อมูล ความรู้ที่ดี

8. เรียนรู้จากความผิดพลาดได้เร็ว  ไม่เอาความผิดพลาดมาทำลายความเชื่อมั่น หาความรู้มาป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดได้อีก

9. มักมองเรื่องทุนเป็นปัจจัยสุดท้าย รู้จักใช้เงินคนอื่นมาลงทุน เมื่อมีไอเดียนำไปคุยกับธนาคาร หรือแหล่งทุนต่างๆ จะประสบความสำเร็จได้เร็วกว่ามาเก็บเงินเองให้ได้จำนวนเงินลงทุนที่ต้องการ

10. ต้องแวดล้อมด้วยมืออาชีพ จะช่วยทำให้ประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น

Cr. T.DED

ลงทุนอย่างมีความสุข

ลงทุนอย่างมีความสุข  :  ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

วิธีการลงทุนในหุ้นที่จะมีความสุขมากกว่าความทุกข์ โดยเฉพาะสำหรับคนทั่วๆไปที่มีเงินออมระยะยาวนั้น ผมมีความเห็นว่าควรจะเป็นการลงทุนในแนว Value Investment ที่เน้นการลงทุนระยะยาวในหุ้นที่มีคุณภาพดีและราคาต่ำกว่ามูลค่าที่ควรเป็น โดยสูตรง่ายๆที่ผมเสนอก็คือ

ข้อ 1 กันเงินประมาณ 30% ของทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องหรือเงินในบัญชีที่คุณไม่จำเป็นที่จะต้องใช้อีก นานมาก(ไม่ต่ำกว่า  5 ปี)  เอามาลงทุนในหุ้น โดยที่เงินนี้ถ้าเกิดต้องสูญเสียไปมาก คุณก็ยังไม่เดือดร้อน แต่อย่าเพิ่งห่วงไปว่าคุณจะสูญเสียมาก ผมพูดเผื่อไว้เท่านั้นเพราะโอกาสเกิดอย่างนั้นมีน้อย ถ้าคุณปฏิบัติตามวิธีที่ผมจะพูดต่อไป

ข้อ 2 เลือกหุ้น  5 – 6 ตัวในอุตสาหกรรมต่างๆกัน โดยหุ้นแต่ละตัวจะต้องเป็นกิจการที่มีคุณภาพดี นั่นก็คือเป็นธุรกิจที่อยู่มานานพอสมควร มีกำไรและจ่ายปันผลตลอดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เจ้าของไม่มีประวัติที่เสียหาย และถ้าจะให้ปลอดภัยขึ้นไปอีก ก็ควรเป็นบริษัทที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมของเขาก็จะยิ่งดี แต่นี่ก็ยังไม่พอจะต้องพิจารณาประกอบกับข้อสาม

ข้อ 3  ราคา ที่ซื้อหุ้นดังกล่าวในข้อสองจะต้องถูก และการที่จะดูว่าหุ้นถูกหรือแพงนั้นจะต้องดูที่ค่า PE, PB และ DP โดยเงื่อนไขง่ายๆก็คือ ค่า PE ไม่ควรจะเกิน  10  เท่า ซึ่งแปลว่าการลงทุนจะให้ผลตอบแทนปีละไม่ต่ำกว่า 10% ค่า PB เป็นตัวประกอบว่าเราจ่ายเงินแพงกว่าผู้ถือหุ้นเดิมมากน้อยแค่ไหน พยายามอย่าให้เกิน 2 เท่า ค่า DP บอกว่าในแต่ละปีเราจะได้เงินปันผลคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินที่เราลงทุน ไป ซึ่งผมคิดว่าน่าจะไม่ต่ำกว่า 4% ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเหลือเพียงปีละ 1%

ข้อ 4 เมื่อซื้อเสร็จแล้วก็ให้กอดหุ้นเหล่านั้นไว้อย่าไปขายเมื่อหุ้นขึ้นหรือลงใน ช่วงสั้นๆ โดยเฉลี่ยแล้วผมคิดว่าควรถือหุ้นไว้สัก 5 ปี นั่นก็คือ ถ้าคุณมีเงินลงทุน  1  ล้านบาท ปีหนึ่งคุณควรขายออกไปโดยเฉลี่ยเพียง 200,000  บาท แต่เมื่อขายแล้วก็ต้องเอาเงินที่ได้ไปซื้อหุ้นตัวใหม่แทน โดยที่การตัดสินใจขายหุ้นและซื้อหุ้นตัวใหม่นั้นมาจากการวิเคราะห์และติดตาม ที่จะกล่าวถึงในข้อห้า

ข้อ 5 เมื่อคุณซื้อหุ้นแล้วคุณก็คือเจ้าของบริษัทคนหนึ่ง ดังนั้นคุณจะต้องติดตามผลการดำเนินงานของกิจการในทุกไตรมาส จะต้องติดตามข่าวคราวจากหน้าหนังสือพิมพ์แนวธุรกิจเป็นประจำ ติดตามการเคลื่อนไหวทางการตลาดของบริษัทซึ่งรวมถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ต่างๆ และถ้าบริษัทเป็นผู้ขายสินค้าอุปโภคบริโภค   คุณก็ควรจะลองใช้หรือคอยสังเกตว่าสินค้าหรือบริการของบริษัทเป็นอย่างไรด้วย

ข้อ 6 ใน ส่วนของราคาหุ้นนั้น คุณจะต้องไม่ตื่นเต้นเมื่อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งวิ่งขึ้นหรือลงอย่างรวดเร็วใน บางช่วง คุณไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบขาย สิ่งที่คุณควรสนใจมากกว่าก็คือมูลค่าของราคาหุ้นทั้งพอร์ตหรือของหุ้นทั้ง หมดที่ถืออยู่ว่ามันปรับตัวขึ้นลงอย่างไร ถ้ามูลค่าปรับตัวขึ้นก็ถือว่าคุณมาถูกทาง และถ้ามันปรับตัวลงหลังจากลงทุนมานานพอสมควรแล้ว(เป็นปี) บางทีคุณอาจจะต้องทบทวนตัวหุ้นที่เลือกมา

ถ้าคุณทำอย่างที่กล่าวมา ทั้ง  6  ข้อ อย่างมั่นคง ผมคิดว่าโอกาสที่คุณจะได้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละไม่ต่ำกว่า 10% โดยที่บางส่วนประมาณ  4 – 5% จะมาจากเงินปันผล และอีกส่วนหนึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้นจะมีสูง นั่นหมายความว่าภายในเวลาประมาณ 7 ปี มูลค่าของพอร์ตลงทุนของคุณจะโตขึ้นเป็นเท่าตัว โดยที่คุณจะไม่ต้องกังวลว่าดัชนีตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร

การเก็งกำไรในหุ้นโอกาสขาดทุนมีมากกว่า

สาเหตุที่การเก็งกำไรในหุ้น โอกาสขาดทุนมีมากกว่า

1. ราคา bid กับราคา offer มันห่างกัน คนมักซื้อฝั่ง offer ซึ่งแพง แล้วขายฝั่ง bid พูดง่ายๆคือ ซื้อปุ๊บก็ขาดทุนปั๊บ

2. มีค่าธรรมเนียมทั้งตอนซื้อและตอนขาย พูดง่ายๆคือ ซื้อปุ๊บก็ขาดทุนค่าธรรมเนียมปั๊บ

เมื่อนักเก็งกำไรซื้อๆขายๆซื้อๆขายๆบ่อยๆ ค่าคาดหมายมันก็ต้องติดลบเรื่อยๆ โอกาสขาดทุนก็ต้องมากขึ้นเรื่อยๆขยับลง 1 ช่อง แล้วคัทลอท มันเสียเงินเยอะกว่าการขยับขึ้น 1 ช่องแล้วขาย พูดง่ายๆคือ เสียเปรียบกติกา

ส่วนคนที่กำไร ก็คือคนที่ทำให้ค่าคาดหมายเป็นบวก ก็คือลงทุนระยะยาว เพราะระยะยาว นักลงทุนได้เปรียบในกติกา เนื่องจากยิ่งถือนานก็ยิ่งได้เงินฟรี ก็คือเงินปันผล ซึ่งเงินปันผลไม่มีทางติดลบ

สมมุติปันผล 5% ผ่านไป 20 ปี ก็เท่าทุนแล้ว ต่อไปโอกาสขาดทุนคือ 0%

พูดง่ายๆคือ นักเก็งกำไร เสียเปรียบกติกา ส่วนนักลงทุนได้เปรียบกติกา