แนวคิดเชิงกลยุทธ์

แนวคิดเชิงกลยุทธ์ - การทำงานให้มีความสุข และ สนุกกับงาน

มีเพื่อนถามว่า จำทำงานอย่างไรให้มีความสุข ซึ่งคนที่จะกล่าวเช่นนี้ออกมาได้ ย่อมมีความรู้สึกว่างานเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกข์ เขาจึงต้องการที่จะเปลี่ยนให้มันมีความสุขมากขึ้น ทั้งนี้ ทำให้ผมสงสัยว่า จริงๆแล้ว งานทำให้ทุกข์ หรือ อย่างอื่นที่ทำให้ทุกข์กันแน่...

เมื่อ มีคำถามเกิดขึ้น ก็ต้องหาแนวคิดเพื่อใช้ในการวิเคราะห์หาคำตอบกันว่า เราควรจะใช้แนวคิดใดดี ผมเลือกใช้ Holistic Thinking และ Context Thinking ในการวิเคราะห์ เบื้องต้นก่อน

การทำงาน ประกอบด้วย การกระทำ ซึ่งเป็นกริยา + งาน ที่เป็นกรรม ดังนั้น สิ่งที่หายไปคือ ประธาน ซึ่งก็คือผู้กระทำลงไป

ส่วนความสุข เกิดจากความพึงพอใจ ความพึงพอใจ เกิดจากการที่ได้ตอบสนองกับความต้องการของตน หรือ มีการตอบสนองต่อความรู้สึกของตน

แต่ทั้งนี้ การทำงาน ก็ยังต้องพึ่งพาสิ่งแวดล้อมภายนอก และ ภายในของการทำงาน เช่น

เมื่อเป็นเช่นนี้ "การทำงานให้มีความสุข" จึงต้องมองให้ถึง 4 ด้าน คือ

1. ตัวบุคคล ตัวตน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทำงาน เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน เจ้าของกิจการ หรือ ลูกน้องที่ช่วยงาน

2. การกระทำของบุคคล ทั้ง การทำงาน การกระทำระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงาน และ ไม่เกี่ยวข้องกับงาน

3. งาน ที่ได้รับมอบหมาย ตั้งแต่งานหลัก หรือ งานรองต่างๆก็ตาม

4. ความรู้สึก ของผู้ทำงาน ความรู้สึกระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงลักษณะนิสัยของผู้ทำงานว่ามีนิสัยที่ตรงกับงานหรือไม่

ทั้ง นี้ รายละเอียดต่างๆ และ มุมมอง ในแง่มุมต่างๆ ในกระทู้นี้ อาจจะมีประโยชน์สำหรับ บุคคลที่กำลังทำงาน รวมไปถึงสามารถจัดการกับสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ หรือ ความไม่สบายใจลง ด้วยการวิเคราะห์เจาะลึกให้เห็นถึงปัญหาต่างๆของตนเองได้ด้วยตัวของท่านเอง 




1. ตัวบุคคล ตัวตน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ทำงาน เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน เจ้าของกิจการ หรือ ลูกน้องที่ช่วยงาน

คน เรามักยึดติดกับตัวตนของเราเป็นส่วนใหญ่ และ สิ่งที่ตอบสนองต่อความต้องการของคนเรานั้นจะเป็นสิ่งที่คนเราแสวงหา ทั้งนี้ เมื่อคนเราเมื่อมีแนวคิดที่ตอบสนองความต้องการของตนเอง ก็มักจะมองข้ามคนอื่นที่ต้องการตอบสนองความต้องการของตัวเขาเองเช่นเดียวกัน

และแน่นอนว่า การทำงานก็แบ่งออกเป็น 2 อย่างใหญ่ๆคือ
1. การทำงานของตนเองไม่เกี่ยวข้องกับใคร
2. การทำงานที่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น

การทำงานของตนเอง ส่วนใหญ่เราจะมีความสุขก็เมื่อเราสามารถทำเรื่องนั้นๆให้สำเร็จลงตามที่ต้อง การได้ ทั้งนี้ การแข่งขันกับตนเองจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำ โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 เข้ามาประกอบก็จะส่งผลให้การทำงานนั้นๆ บรรลุและมีความสุขคือ

ฉันทะ = ความพึงพอใจในการทำงานนั้น หรือ เต็มใจทำงานนั้น
หรือ ความชอบในงานนั้นๆเป็นทุนเดิม ซึ่งถ้าเรามีความพอใจในงานที่ทำ หรือ ทำงานที่เรากำลังสนใจ หรือ มีนิสัยพื้นฐานตรงกับงานที่ได้รับมอบหมาย ก็จะเป็นพื้นฐานที่จะส่งผลให้เราพยายามที่จะทำ และ จะทำด้วยความพึงพอใจเป็นทุนเดิม ทั้งนี้ ถ้าได้งานที่ไม่ชอบ หรือ ไม่มีความสามารถ ก็ต้องใช้การโน้มน้าวใจให้ชอบกับงานที่ทำ ซึ่งอาจจะใช้วิธีการสะกดจิตตัวเอง โดยกล่าวกับตนเองเสมอๆว่า "งานนี้เป็นงานที่ฉันสามารถทำได้ งานนี้เป็นงานที่ฉันทำได้ และงานนี้เป็นงานที่จะทำให้ฉันประสบความสำเร็จ" ทั้งนี้ แนววิธีการนี้มีหลายๆสำนักใช้เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับผุ้ ที่ท้อแท้อย่างมาก และ กลับกลายมาเป็นคนที่ทำงานได้ดีมามากต่อมากแล้วด้วย

วิริยะ = พากเพียรในการทำงาน
หรือ ความุ่งมั่นในการทำงาน ซึ่งเป็นนิสัยที่จะต้องปลูกให้มีขึ้นในตน ทั้งนี้ คนเรามักมีความพากเพียรในระดับที่แตกต่างกันออกไป คนที่จะประสบความสำเร็จได้อย่างมาก ก็ต้องอาศัยความพากเพียรตัวนี้ให้มากด้วย แต่ทั้งนี้ ความพยายามที่จะทำ การมีจิตใจที่คิดในแง่ดีของการทำงาน จะเป็นตัวส่งเสริมให้มีการพากเพียรในการทำงานเหล่านั้นให้ประสบความสำเร็จ แต่ทั้งนี้ ก็ต้องมีจิตใจที่จดจ่อกับงานที่ทำด้วยถึงจะส่งผลได้ดีเพิ่มมากขึ้น

จิตตะ = การมีจิตใจจดจ่อต่อการทำงาน
หรือ การกระทำงานนั้นอย่างมีสมาธิ มุ่งมั่น จดจ่อ กับงานที่ทำ ทั้งนี้ การไม่มีสมาธิในการทำงานนั้นๆ ก็จะส่งผลให้เกิดความสับสน ฟุ้งซ่าน แต่การจดจ่อกับงานมากไปก็เป็นผลเสีย ทำให้ความคิดเกิดความรู้สึกเครียดกับงานนั้นๆ ดังนั้น การจะมีจิตใจจดจ่อกับงาน จึงต้องมีสมาธิในงาน และ ไม่จดจ่อกับงานมากจนเกินไป ให้เดินสายกลาง

วิมังสา = การพินิจ วิเคราะห์ และ เข้าใจในการทำงานนั้นๆ
หรือ การเข้าใจในการทำงานของตนเองว่า ต้องทำแต่ละขั้น แต่ละตอนอย่างไรเพื่อให้งานสามารถบรรลุตามความต้องการได้ ซึ่งต้องใช้สติ และ ปัญญามาวิเคราะห์ และวางแผนการดำเนินการต่างๆให้ลุล่วง



วิธีการสร้างแรงจูงใจในการทำงานเฉพาะตน
จาก 4 หลักการณ์ทางพุทธศาสนา เราพบว่า การสร้างแรงจูงใจในการทำงานเฉพาะตนให้สำเร็จลุล่วงไปได้นั้น จำเป็นต้องมีขั้นตอนต่างๆ เพื่อจูงใจตนเอง โดยเริ่มจาก
1. พยายามทำใจให้ชอบกับงานที่ทำ หรือ อย่างน้อยต้องเข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับจากงานที่ทำ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้สามารถทำงานเหล่านั้นได้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ของงานนั้นๆ
2. อาจจะต้องคำนึงถึงผุ้ที่จะรับงานต่อจากเราว่าเขาอาจจะเดือดร้อน ทำให้เราต้องมีการดำเนินการให้เสร็จทันตามกำหนด เพื่อกระตุ้นตนเองให้ทำงานให้เสร็จ
3. เมื่อมีอุปสรรคต่างๆก็อย่าท้อถอย ต้องพยายามทำให้เสร็จ และ ฝีกฝนตนเองให้เป็นคนมุ่งมั่นที่จะทำงานที่อยู่ตรงหน้าให้เสร็จอยู่เสมอๆ เพื่อเป็นพื้นฐานของการทำงานต่างๆต่อไป
4. คบเพื่อนที่ชอบทำงาน เพื่อนที่มีแนวคิดในเชิงบวก เพื่อให้เพื่อนเป็นแรงผลักดันให้เราเป็นคนชอบทำงาน และ คิดดี ทำดี มากขึ้น
5. เมื่อทำงานใด ก็อย่าไปคิดถึงเรื่องอื่นให้จิตใจจดจ่อกับงาน อย่าวอกแวก หรือ คิดในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับงาน ทั้งนี้ ก็เพื่อสร้างนิสัยการจดจ่อและทำงานให้สำเร็จก่อนที่จะทำงานชิ้นอื่นๆต่อไป
6. หากมีปัญหาส่วนตัว ก็ให้ปล่อยวางอย่าเอามาปะปนกับงานที่กำลังทำ เพราะจะทำให้ไม่มีสมาธิในการทำงานและจะทำให้งานออกมาไม่ดีเท่าที่ควร
7. เมื่อมีปัญหา ให้รีบแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้มีปัญหาค้างคาอยู่
8. ถ้ามองเห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ให้พยายามหาทางป้องกันปัญหาเหล่านั้นเพื่อไม่ให้มันเกิดขึ้น หรือ หากจำเป็นต้องเกิดขึ้นก็สามารถมีวิธีการแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ หรือ แม้นแต่ทำให้ปัญหาที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงน้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

ทั้ง นี้ การทำงานจริง เราไม่สามารถทำงานต่างๆด้วยตัวตนของตัวเองได้เพียงอย่างเดียว เราเป็นสัตว์สังคมที่ยังต้องมีสังคมในการทำงานเช่นกัน ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจึงเป็นตัวแปรที่มีผลต่อความสุขในการทำงานด้วย ทั้งนี้ มีแนวคิดง่ายๆ เพื่อสร้างมุมมองการทำงานระหว่างกันไว้ดังนี้คือ
1. เจ้านาย หรือ นายจ้าง ต้องการอะไร และ เราทำงานแล้วตอบสนองต่อความต้องการนั้นหรือไม่
2. ลูกน้องมีความสามารถในการทำงานมากน้อยเพียงใด และ เราสามารถพัฒนาให้เขามีศักยภาพที่สูงขึ้นได้หรือไม่
3. เพื่อนร่วมงานต้องการอะไร เขามีลักษณะการทำงานอย่างไร เขาต้องการให้เราทำอย่างไรเพื่อช่วยเหลือเขาให้เขาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ
4. ไม่มีใครรู้ว่าเราต้องการความช่วยเหลืออย่างไร หากเราไม่บอกใคร..
5. ตำแหน่งหน้าที่ของเรามีหน้าที่อย่างไร และ เราสามารถทำได้มากกว่านั้นหรือไม่เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จ

ทั้ง นี้ คำถามข้างต้น จะให้มองถึงความต้องการของคนอื่น และ เราสามารถตอบสนองความต้องการอย่างไรกับเขาได้บ้าง เพราะคนส่วนใหญ่มักมองว่าตนเองต้องการ และ ก็จะกอบโกยสิ่งต่างๆตามที่ตนต้องการ แต่ถ้าเราเริ่มที่จะให้ มองถึงความต้องการของคนอื่นก่อน ถึงแม้นเราจะรู้สึกว่าพวกเขาเอาเปรียบ แต่เราก็จะสร้างคุณค่าของตนเองให้มีคุณค่ามากขึ้นและเมื่อตนเองมีคุณค่าของ ตนเองมากขึ้น ความพึงพอใจ ความสุขใจ ก็จะเกิดกับตนเองทั้งสิ้น ซึ่งก็จะทำให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีความสุขจากการได้ช่วยเหลือให้คนอื่น สามารถทำงานได้อย่างมีความสุข และ องค์กรก็จะประสบความสำเร็จไปพร้อมๆกัน 




2. การกระทำของบุคคล ทั้ง การทำงาน การกระทำระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงาน และ ไม่เกี่ยวข้องกับงาน

เมื่อ มีงาน ก็ต้องทำงานนั้นๆให้สำเร็จเสร็จสิ้นและบรรลุวัตถุประสงค์ของงาน การทำงานจึงต้องมีทั้งแนวความคิดตามอิทธิบาท 4 ตามที่กล่าวมาแล้ว แต่ การทำงานให้มีความสุข จำเป็นต้อง สนุกกับงานด้วย การทำงานให้มีความสุข จึงขึ้นกับการกระทำของเราว่า เราสร้างให้การทำงานนั้นๆมีความสุข และ สนุกในการทำงานหรือไม่

งานบางงานต้องใช้แรงงาน การได้พักผ่อนทางความรู้สึกบ้างก็จะช่วยได้มาก ดังจะเห็นว่า ช่างก่อสร้างส่วนใหญ่ เวลาทำงาน เขาจะเปิดเพลงในสไตล์ของเขาเช่น หมอลำ เป็นต้น ดังๆ ทั้งนี้ ความเหน็จเหนื่อยจากการทำงานหนัก และ ได้ฟังเพลงที่ชอบ ก็จะช่วยให้จิตใจรู้สึกดี และ สามารถทำงานได้มากตามที่ต้องการ

งานบางงานใช้สมองมาก การที่อยู่ในถิ่นที่สามารถสร้างสมาธิในการทำงานได้ดี ก็จะช่วยให้การทำงานที่ต้องใช้สมองสามารถคิด สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถิ่นที่เหมาะกับการทำงานลักษณะนี้ ก็ต้องเป็นสถานที่ๆมีความเงียบในระดับหนึ่ง มีอุณหภูมิที่เหมาะกับร่างกายคือไม่หนาวจนเกินไป และ ไม่ร้อนจนเกินไปนั่นเอง

หรือ งานบางงานต้องติดต่อกับบุคคลอื่นๆ การเป็นคนที่สามารถดึงดูดให้คนที่พบเห็นพึงพอใจ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่องานลักษณะนี้ ทั้งนี้ การแต่งกายก็ดี การใส่น้ำหอมก็ดี หรือแม้นแต่บุคคลิกภาพ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานในลักษณะนี้ทั้งสิ้น เพื่อสร้างให้เกิดภาพลักษณ์ที่พึงปราถนาต่อผู้พบเห็น และ พูดคุยด้วย เป็นต้น

การสร้างสิ่งแวดล้อมภายนอกและภายในให้เหมาะกับงานที่ทำ จะเป็นแรงผลักดันให้ ผลของงานออกมาได้ดีขึ้น เมื่อผลของงานที่ดีขึ้น ก็ย่อมส่งผลให้เกิดความพึงพอใจต่อผลงานที่ได้รับ

แต่เนื่องจากคนเรา ทำงานนั้น ผลของสิ่งแวดล้อมบางทีก็ส่งผลต่องานที่จะทำด้วย เช่น เมื่อโดนหักอก เสียใจ เศร้าใจ ก็มีผลต่อการทำงาน ดังนั้น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะส่งผลให้กับการทำงานนั้น จึงจำเป็นต้องกำจัดให้ได้หากต้องการทำงานให้มีความสุข และ สนุกในการทำงาน

วิธีกำจัดความรู้สึกที่ไม่พึงประสงค์ต่อการทำงาน
1. หากเสียใจหรือเศร้าใจในการทำงาน ให้เลือกทำงานที่ใช้แรงงานมากๆ หรือ ให้ติดต่อกับคนอื่นๆมากๆ เพื่อให้เราใช้กำลังกาย และ สมองไปกับการตอบโต้ ณ เวลาปัจจุบันให้มาก เพื่อจะได้ไม่คิดถึงเรื่องที่ผ่านมา
2. หากงานที่ทำเรารู้สึกว่า เป็นงานที่ไม่มีผลงาน ก็ต้องหาข้อดีของงานๆนั้นว่า เป็นงานที่สำคัญ หรือ เป็นงานที่คนอื่นทำแล้วไม่สามารถทำได้ดีเท่าเราเป็นต้น
3. ความรู้สึกว่าเด่นเกินหน้า เป็นที่อิจฉาของเพื่อนร่วมงาน ความรู้สึกนี้จะถ่วงให้เราไม่ยอมที่จะทำงานให้มากขึ้น หรือ ดีขึ้น ทั้งนี้ความอิจฉาริษยาของเพื่อนๆ เป็นแรงที่ส่งผลทางลบต่อการทำงาน ดังนั้น อย่าไปสนใจกับความรู้สึกเหล่านั้น แต่ต้องมองว่า เราต้องสร้างให้คนเหล่านั้น มีความสามารถและโดดเด่นในการทำงานของเขาให้ได้มากขึ้น ก็จะทำให้เรารู้สึกว่า เราเองมีความสำคัญและจะสนุกกับการทำงานต่างๆได้ดียิ่งขึ้น
4. เจ้านายให้งานมาทำงานมาก ก็ให้มองว่า เจ้านายมอบหมายงานเหล่านั้นเพราะเป็นงานที่สำคัญ ซึ่งคนทั่วไปอาจจะไม่สามารถทำงานเหล่านั้นให้สำเร็จได้ และเจ้านายเขาคิดว่าเราเป็นคนสำคัญ ก็ย่อมจะสร้างผลงานได้มากกว่าคนอื่นๆด้วย

ให้คิดในแง่บวก หรือ Positive Thinking อยู่เสมอในการจัดการกับความคิด ความรู้สึกของคุณ




3. งานที่ได้รับมอบหมาย ตั้งแต่งานหลัก หรือ งานรองต่างๆก็ตาม

การ ทำงานให้มีความสุข และ สนุกกับงานนั้น องค์ประกอบหลักจะอยู่ในเรื่องของงานเสียส่วนใหญ่ ทั้งนี้ งานที่จะทำ จึงเป็นสิ่งที่มีผลกับอนาคตของเราอย่างมาก

งาน แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ คือ
1. งานหลักที่ทำ เป็นงานตามหน้าที่ งานตามตำแหน่งที่จะต้องทำ

2. งานเสริมที่ต้องทำ เป็นงานที่อาจจะไม่ได้อยู่ในหน้าที่รับผิดชอบจริงๆ แต่ก็ต้องทำ หรือ ถ้าทำแล้วงานหลักของเราจะประสบความสำเร็จมากขึ้น

3. งานของเจ้านาย เป็นงานที่ต้องช่วยเหลือเจ้านาย อาจจะมีบางส่วนที่อยู่ในหน้าที่รับผิดชอบของเรา หรือบางที งานเหล่านั้นก็ไม่ได้อยู่ในหน้าที่ของเรา แต่เจ้านายก็มอบหมายมาให้ดำเนินการ

4. งานขององค์กร เป็นงานที่ไม่เกี่ยวอะไรกับการทำงาน แต่เป็นงานสำหรับพัฒนาองค์กร หรือ อาจจะเป็นงานสังสรรต่างๆ ทั้งนี้อาจจะเสียเวลา แต่ก็จะได้ภาพรวมขององค์กรที่ดีขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องความสามัคคีของแต่ละส่วนในองค์กรเป็นสำคัญ

จาก งาน 4 ลักษณะ ข้างต้น หากเราใช้แนวคิดในเชิง KSF (Key Success Factors) หรือ CSF (Critical Success Factors) เข้ามาประกอบ เราจะพบว่า

งานหลัก เป็นงานที่ทำตามความสามารถของแต่ละบุคคล ดังนั้น งานหลักถ้าจะทำให้สนุกนั้น จึงต้องเหมาะกับบุคคลิกการทำงานของแต่ละบุคคลด้วย เช่น ถ้าเป็นงานขาย ก็จะต้องเก่งทางด้านการติดต่อสื่อสาร อาจจะรวมถึงการมีคนรู้จักจำนวนมาก เป็นองค์ประกอบ ทั้งนี้ ลักษณะบุคคลิกของตนเอง กับงานที่ทำ จึงมีผลกับความสุข และ ความสนุกในการทำงานด้วย เช่น หากเป็นคนที่ชอบอยู่เงียบๆ ไม่ชอบคุยกับคนแปลกหน้า ไม่ชอบการออกสังคม การจะให้เขามาเป็นพนักงานขาย ก็คงจะไม่เหมาะเขาเหล่านั้น ก็อาจจะทำงานให้หน้าที่ได้ไม่ดี

ดังนั้น จึงต้องค้นหาตัวตนของตนเองว่า เหมาะกับงานหรือไม่ ทั้งนี้ ด้วยการเขียนคุณลักษณะของคนที่ควรจะทำงานนั้นๆ และ เขียนคุณลักษณะของตนเองขึ้นมา และวิเคราะห์แต่ละหัวข้อว่า งานที่ทำนั้น เหมาะสมกับลักษณะนิส้ยของตนมากน้อยเพียงใด หรือ คุณลักษณะใดของเราที่เอื้ออำนวยในการทำงานเหล่านั้น ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์ออกมาก็จะเห็นว่า ตนเองนั้นเหมาะกับงานที่ทำมากน้อยเพียงใด และ งานที่ทำอยู่เราสามารถทำได้เพราะเหตุใดด้วย

งานเสริมที่ต้องทำ และ งานของเจ้านาย ล้วนแล้วแต่เป็นงานเฉพาะกิจที่จะส่งผลถึงองค์กร และ ส่งผลถึงงานหลักของเรา มีคนหลายๆคนที่เป็น Key Man ขององค์กรที่โดนเจ้านายสั่งงานบ่อยถึงบ่อยที่สุด จนงานหลักแทบจะไม่ได้ทำเลยก็มี ทั้งนี้งานเหล่านี้จึงต้องจัดสรรเวลาในการทำให้ดีไม่เช่นนั้นอาจจะกระทบกับ งานหลักได้

เมื่อเจ้านายสั่งงานกับคุณเพียงคนเดียว คุณจะทำอย่างไร? เป็นคำถามของหลายๆท่าน ซึ่งถ้าคุณเจอสภาวะเช่นนี้ ก็ให้คาดการณ์ได้เลยว่า คุณเป็นหนึ่งในคนสำคัญของเจ้านายคุณเลยทีเดียว แต่การที่เขามอบหมายงานต่างๆให้คุณมากเกินไปนั้น ก็จะส่งผลกระทบกับงานหลักเช่นกัน ดังนั้น การบอกปฏิเสธจึงควรจะต้องมีบ้างในบางเรื่อง หรือ หากคุณมีลูกน้องก็ต้องกระจายงานเหล่านั้น ให้กับลูกน้องให้ทำงานแต่ละงานด้วย ทั้งนี้เพื่อลดแรงกดดันอันเกิดจากความไม่ตั้งใจของเจ้านาย เพื่อการทำงานอย่างมีความสุขของคุณเอง

นอกจากนี้ งานเสริมที่ต้องทำมากที่สุด คือการตรวจสอบคุณภาพของงาน หรือ ของระบบงาน ทั้งนี้ งานเหล่านี้ส่วนใหญ่มักไปตกกับหัวหน้างาน ดังนั้น หากคุณสามารถทำงานเหล่านี้ได้ด้วย นั่นก็หมายถึง คุณมีความสามารถที่มากกว่าคนทำงานทั่วไป ทั้งนี้การตรวจสอบคุณภาพ เป็นงานที่ท้าทาย เมื่อทำได้ก็จะแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของคุณขึ้นว่ามีความสามารถ แต่ในทางกลับกัน การตรวจสอบคุณภาพ ก็หมายถึงการไปจับผิดเพื่อนๆที่ทำงาน ทั้งนี้ก็อาจจะทำให้เกิดภาวะกดดันจากเพื่อนร่วมงานด้วย จึงต้องมีเทคนิคการเสนองานและตรวจสอบคุณภาพของงานอย่างละมุลละไมด้วย ไม่เช่นนั้น ภาวะกดดันจากเพื่อนร่วมงาน จะทำให้คุณไม่สนุกกับงานที่ทำก็เป็นได้

งานขององค์กร ส่วนใหญ่เป็นงานรื่นเริง ได้พบปะผู้คนต่างแผนก มีเพื่อนใหม่ๆ หรือ แม้นแต่การมีนันทนาการระหว่างกัน ทั้งนี้ หากมีโอกาสได้ทำงานขององค์กร เช่น เป็นกรรมการจัดงาน หรือ อะไรก็ตาม ก็สมควรที่จะทำเพื่อที่จะพักผ่อนอย่างมีคุณค่า นอกจากจะได้สังสรรนันทนาการแล้ว ก็ยังได้เรียนรู้เพื่อนร่วมงานต่างแผนก ซึ่งอาจจะมีส่วนช่วยเหลือให้เราประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานต่อไปได้เช่น กัน 




4. ความรู้สึก
ความรู้สึกของผู้ทำงาน ความรู้สึกระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงลักษณะนิสัยของผู้ทำงานว่ามีนิสัยที่ตรงกับงานหรือไม่

เรื่อง นี้เป็นเรื่องใหญ่ที่จะบ่งชี้หลักว่า "การทำงานให้มีความสุข และ สนุกกับงาน" ได้นั้นจะมุ่งเน้นประเด็นในเรื่องนี้เป็นสำคัญ สิ่งที่จะมีผลต่อความรู้สึก ว่าจะทำงานให้มีความสุขและสนุกกับงานได้นั้น จะมีองค์ประกอบดังนี้คือ
1. ค่าตอบแทน
2. การกระทบกระทั่งระหว่างบุคคล
3. ระบบการทำงาน
4. งานที่ได้รับมอบหมาย
5. ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน
6. บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทำงาน



ค่าตอบแทน

เรื่อง ค่าตอบแทนในการทำงานมีผลต่อการดำเนินงานอย่างมาก ทั้งนี้ คนทำงานก็ต้องการค่าตอบแทนที่สูง ในขณะที่ เจ้าของกิจการต้องการจ่ายค่าแรงต่ำ แต่ผลจากการตกลงในการเข้าทำงาน ก็ทำให้คนทำงานพึงพอใจในระดับหนึ่ง แต่ปัญหาจริงๆ อยู่ตรงที่ การเปรียบเทียบ ค่าตอบแทน ระหว่างกัน ไม่ว่าจะต้องการเปรียบเทียบเอง หรือ มีคนเอาของเราไปเปรียบเทียบ เมื่อเรารู้เข้า ความไม่พอใจในค่าตอบแทนก็จะเริ่มมีขึ้น และ เมื่อมีความไม่พอใจทางด้านค่าตอบแทน ก็จะส่งผลให้เกิดความทุกข์ใจ และ ทำให้การทำงานไม่มีความสุข ซึ่งสิ่งนี้เป็นเหมือน หอกข้างแคร่ของการทำงานขององค์กรที่คอยทิ่มแทงองค์กรหากองค์กรพลั้งเผลอ...

ถ้า คุณเปรียบเทียบรายได้หรือค่าตอบแทน แล้วพบว่า คุณมีรายได้และค่าตอบแทนที่สูงกว่าเพื่อนๆ คุณจะมีกำลังใจในการทำงาน ภูมิใจในการทำงาน แต่ในทางกลับกัน เพื่อนของคุณก็จะเสียขวัญในการทำงาน หดหู่ในการทำงาน ในทางกลับกัน ถ้าเปรียบเทียบแล้วพบว่า คุณมีรายได้และค่าตอบแทนที่น้อยกว่าเพื่อนๆ คุณก็จะเสียขวัญในการทำงาน หดหู่ในการทำงาน ไป ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ไม่ว่าจะมองทางใด หนึ่งในองค์กรของคนทั้งสอง ก็ต้องเสียผลประโยชน์ หรือ หากคนทั้งสองอยู่ในองค์กรเดียวกันก็ตาม หนึ่งในแผนกนั้น ก็จะได้คนที่ไม่มีใจในการทำงานไปทำ ก็จะทำให้องค์กรรวนอยู่ดี

เด็ก ใหม่ที่เริ่มทำงานมักทำการเปรียบเทียบรายได้เป็นเกณฑ์ แล้วทำให้ตนเองเสียความรู้สึกในการทำงานไป ทำให้ผลงานไม่ดี อยากลาออก อยากหางานใหม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ผลงานก็ออกมาไม่ดี การประเมินผลก็ไม่ดี ค่าตอบแทนที่จะเพิ่มขึ้นก็เพิ่มขึ้นน้อยเนื่องจากผลงานไม่ดี เป็นผลกระทบลูกโซ่ที่จะทำให้อนาคตไม่ก้าวหน้า แต่ทั้งนี้ เด็กใหม่ก็ชอบที่จะเปรียบเทียบอยู่ดี ทั้งๆที่จะส่งผลเสียให้กับตนเอง

งานทุกงาน มีความรับผิดชอบแตกต่างกัน
คนทุกคนมีความรับผิดชอบต่องานที่แตกต่างกัน
ตำแหน่งงานเดียวกันแต่ต่างองค์กรก็มีความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน
ตำแหน่งเดียวกันอยู่คนละส่วนความรับผิดชอบก็แตกต่างกัน
คนแผนกเดียวกันทำงานเหมือนกัน แต่ก็มีความรับผิดชอบต่องานต่างกัน

ในเมื่องานมีความแตกต่าง ทำไมรายได้และค่าตอบแทนของแต่ละคนต้องเหมือนกันอย่างนั้นหรือ ????
- ที่ใหม่ให้เงินเดือนเพิ่ม แต่ตำแหน่งน้อยกว่าเดิม จะย้ายงานดีไม๊ = ถ้าคิดว่าเงินคือคำตอบก็ย้ายเลย...
- ที่ใหม่ให้เงินเดือนเพิ่ม ตำแหน่งเท่าเดิมจะย้ายงานดีไม๊ = ถ้าคิดว่าเงินคือคำตอบก็ย้ายเลย...
- ที่ใหม่ให้เงินเดือนเพิ่ม แต่งานหนักจะย้ายงานดีไม๊ = ถ้าคิดว่าเงินคือคำตอบก็ย้ายเลย...
- ที่ใหม่ให้เงินเดือนเพิ่ม แต่ทำงานวันเสาร์ด้วยจะย้ายงานดีไม๊ = ถ้าคิดว่าเงินคือคำตอบก็ย้ายเลย...
- ที่ใหม่ให้เงินเดือนเพิ่ม แต่ทำงาน 10 ชั่วโมงไม่มี OT แถมทำงานวันเสาร์ด้วยจะย้ายงานดีไม๊ = ถ้าคิดว่าเงินคือคำตอบก็ย้ายเลย...
- ที่ใหม่ให้เงินเดือนเพิ่ม แต่ข่าววงในบอกว่าข้างในมีปัญหาจะย้ายงานดีไม๊ = ถ้าคิดว่าเงินคือคำตอบก็ย้ายเลย...
- ที่ใหม่ให้เงินเดือนเพิ่ม แต่ถ้าเราไม่มีประโยชน์กับเขาแล้วเขาจะไล่เราออกอย่างนี้จะย้ายงานดีไม๊ = ถ้าคิดว่าเงินคือคำตอบก็ย้ายเลย...

ไม่ค่อยมีใครถามนะครับว่า
ได้ เงินเดือนเพิ่ม ตำแหน่งเพิ่ม คุมคน 2-3 คน ทำงานน้อยลง ทำงานสบายๆเดินไปเดินมา ไม่ต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น อยู่เฉยๆก็ได้เงินเดือน เจ้านายก็ดี ลูกน้องก็ดี เพื่อนร่วมงานก็ดี ระบบงานก็ดี องค์กรก็มีชื่อเสียง โบนัสเยอะมากๆ10-20 เดือน ขึ้นเงินต่อปีขั้นต่ำก็ 20% มีประกันชีวิตและสวัสดิการให้มากมาย สมทบเงินทุกเดือนเพื่อเป็นเงินเกษียรให้ถึง 20% ของรายได้ มีพาไปเที่ยวต่างประเทศ 2 ครั้งต่อปี เที่ยวในประเทศ 3 ครั้งต่อปี มีจัดงานรื่นเริงปีใหม่แจกทองคำอย่างต่ำ 1 บาท เข้างานกี่โมงก็ได้ ออกกี่โมงก็ได้ มีรถบริษัทฯ พร้อมค่าน้ำมันให้ไม่จำกัด ไม่มี KPI หรือ ระบบที่จะมาควบคุมการทำงานให้ปวดหัว ไม่ต้องหา Unit Cost ไม่ต้องติดต่อกับต่างประเทศ ลูกค้าก็ไม่มีปัญหาจ่ายเงินตรงทุกรายและไม่จู้จี้ Supplier ก็ดีส่งของตรงเวลา เก็บเงินเราก็ช้ามากๆ จะย้ายงานดีไม๊??? ซึ่งถ้ามีคำถามอย่างนี้มา ผมคงแนะนำว่า ให้ย้ายไปทำเลยครับ... (แต่หากงานนี้เป็นงานย้ายไปเป็นเมียน้อยเสี่ย มีหน้าที่นอนอย่างเดียว คุณก็ต้องเลือกเองนะครับ ผมไม่สนับสนุนเรื่องอย่างนี้ครับ 5555)

ทั้ง นี้เมื่อมองให้เห็นถึงความเป็นจริงของการจ้างงาน ไม่มีใครจ้างคนทำงานมาทำอย่างข้างบนแน่นอน ไม่มีปัญหาใดก็ปัญหาหนึ่งที่ต้องให้แก้ไข ไม่มีองค์กรใดที่สมบูรณ์แบบ ไม่มีงานใดที่ไม่มีปัญหา ไม่มีทางที่เขาจะจ่ายเงินให้คุณอยู่เฉยๆ หรือนั่งเล่น Internet ไปวันๆ ดังนั้น ไม่ว่าจะทำงานที่ไหน ก็จะต้องมีจุดบกพร่องของงาน ขององค์กร ของรายได้ ฯลฯ เสมอๆ ค่าแรงรายได้ค่าตอบแทนของแต่ละบุคคล จึงไม่เหมือนกันแน่นอน ขึ้นอยู่กับว่า เขาจะจ้างคุณไปเพื่อทำสิ่งใดเท่านั้น

เพราะมองไม่เห็นความเป็นจริง ว่า รายได้และค่าตอบแทน จะขึ้นกับความสามารถ ความรับผิดชอบ หน้าที่ และ ผลงานของการทำงาน แต่คนเราก็มองแต่เรื่องค่าตอบแทนเพราะเป็นเรื่องที่ตนเองได้รับผลประโยชน์ โดยไม่มองว่าตนเองเป็นประโยชน์ต่อองค์กรมากน้อยเพียงใดอยู่เสมอ เรื่องความไม่พึงพอใจต่อค่าตอบแทนที่ได้รับ จึงเป็นเรื่องสามัญที่จะต้องเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ และ บ่อยๆ ซึ่งคนที่มีปัญหาเรื่องนี้ ก็จะยิ่งมีปัญหาเรื่องนี้ ทำให้งานก็มีปัญหาตาม ถ้าจะแก้ไขความรู้สึกทางลบจากเรื่องนี้ ก็อย่าไปรับรู้เรื่องรายได้ของคนอื่นเลย ถึงแม้นรู้ก็พยายามหาข้อมูลมาเพื่อสนับสนุนความรู้สึก หรือ ถ้าห้ามความรู้สึกไม่ได้ ก็ไปหางานที่ได้เงินมากกว่าปัจจุบันทำไปเลย ทั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงข้อเท็จจริงไปเลยว่า ค่าตอบแทนที่ได้รับต้องแลกด้วยอะไรบ้าง ถึงจะรู้จักตัวตนของตนเองกัน

แค่ขจัดการเปรียบเทียบทางด้านรายได้ค่าตอบแทนออกได้ ก็เท่ากับว่าคุณได้กำจัดปัญหาใหญ่ๆของการทำงานไม่มีความสุขลงไปได้มากแล้ว 


โดย อาจารย์ วิบูลย์ จุง : Wiboon Joong (wbj)

ไม่มีความคิดเห็น: